ข้อพิสูจน์การเผยแผ่ ของหนังสือเทวราชโองการ

2024-05-04 07:19:34 - mindcyber

หนังสือเทวราชโองการ รับมอบจากนักพรตตั้นชือโดยลูกศิษย์ท่าน “นักพรตอู้หมี เป็นผู้นำออกเผยแผ่ปีซินซื่อ (ค.ศ.1761) ในองค์จักรพรรดิเฉียนหลง (ราชวงศ์ชิงค.ศ.1644-1911) ข้าพเจ้า (ชื่อหมิ่น) อาศัยอยู่ในเมืองเจียงอิ้วได้พบหนังสือเล่มนี้ (หนังสือเทวราชโองการ) แต่เป็นฉบับเก่าพิมพ์ในสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ.960-1127) ทั้งเล่มมีเพียง 32แผ่น บรรทัดแรกเริ่มจากศักราชไท่ผิง วันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9เป็นวันฉงเหยียง ตรงกับปีเกิงอู่ อาตมาตั้นซือขึ้นเขาจาริกในช่วงคลุมเครือเวิ้งว้าง” มาถึงหน้าที่ 24 มีข้อความ “เมื่อฤดูคิมหันต์เดือน 6 ปีอู้เซิน อาตมาได้ จาริกถึงมณฑลเสฉวนระหว่างทางพบอาจารย์อาตมานักพรตตั้นชือ” และมีข้อความ “ปีที่ 5 ศักราชเส้าเซิ่ง นักพรตอู้หมีคัดลอกบทความสั่งสอนชาวโลก” ข้อความนี้แตกต่างจากหนังสือเทวราชโองการฉบับพิมพ์ใหม่ ฉบับเก่ามีปีที่ 5 ศักราชเส้าเซิ่ง แต่ฉบับใหม่ข้อความนี้ได้หายไป นอกจากประโยคนี้แล้ว ส่วนอื่นจะสอดคล้องกันหมด

ปัจจุบัน ชาวโลกบางคนอ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ไม่ติว่าใช้คำศัพท์สามัญ ก็ติว่าพูดแต่เรื่องแปลกพิลึก ยิ่งพวกที่ชอบฟื้นฝอยหาตะเข็บก็มาติว่าที่อ้างอิง วัน เดือน ปและนักพรตตั้นชือ นักพรตอู้หมีล้วนเป็นเรื่องเหลวไหลถ้าคนอ่านใช้ท่าทีเช่นนี้แล้ว อย่างอื่นยิ่งไม่ต้องพูดถึง ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้า (หมิ่น) จึงพยายามศึกษาค้นคว้าหาหลักฐานในที่สุดเมื่อฤดูวสันต์ปีเจี่ยอิ๋น (ค.ศ.1794) ในรัชกาลจักรพรรดิเฉียนหลงได้พบในสารานุกรมพุทธศาสนา มีบันทึกข้อความสมัยราชวงศ์ซ่ง นักพรตตั้นชือได้พบยมบาล ยมบาลมอบหมายให้นำเรื่องในยมโลกออกเผยแผ่ ถึงแม้ความลับของฟ้าต้องรักษาอย่างเข้มงวดมิให้รั่วไหล แต่เนื่องจากชาวโลกสร้างบาปอย่างไม่หยุดไม่หย่อน เป็นเรื่องที่ปฏิเสธมิได้ เทวราชเจ้ารู้สึกสังเวชยิ่ง จึงโปรดเกล้าหนังสือผ่านนักพรตตั้นชือมอบให้นักพรตอู้หมี นำไปเผยแผ่เพื่อสั่งสอนตักเตือนชาวโลก” จากข้อความนี้ก็เป็นหลักฐานยืนยันได้

เรามาดู วัน เดือน ปี ที่อ้างอิงในหนังสือเทวราชโองการจากการตรวจสอบพบว่า จักรพรรดิเหยินจง เทียนเซิ่นปีที่8 ในราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ.1030) เป็นปีเกิงอู่ เวลานั้นตรงกับศักราชไท่ผิงปีที่ 10 ของแคว้นเหลียว เชื่อว่านักพรตตั้นชือ ต้องเป็นคนแคว้นเหลียว จึงบันทึกลงในหนังสือเริ่มต้นด้วยประโยค “(ศักราชไท่ผิง) ลูกศิษย์เขานักพรตอู้หมีอาจพำนักอยู่ในประเทศจีน จึงมีประโยค “ปีอู้เซินจาริกไปถึงเมืองเสฉวน” หมายเหตุ: ปีอู้เซิน ตรงกับ รัชกาลเสินจง(ค.ศ.1068-1085) ซีหนิงปีแรก (ค.ศ.1068) (จักรพรรดิเสินจงเป็นฮ่องเต้ถัดจากจักรพรรดิเหยินจงในราชวงศ์ซ่ง) และมีประโยคว่า “ก่อนหน้านั้นปีอู้อิ๋น ได้พิมพ์หนังสือที่สำนักพิมพ์ตงฟู่ ปัจจุบันปีเกิงซี” เป็นต้น ปีอู้อิ๋นตรงกับเส้าเซิ่งปีที่ 5(ตรงกับปีค.ศ.1090) ของรัชกาลซ่งจื๋อจง (ค.ศ.1085-1100)ซึ่งตรงตามหนังสือเทวราชโองการฉบับเก่าบันทึกไว้ ปีเกิงซีก็ตรงกับเกี้ยนเอี้ยนปีที่ 4 ของรัชกาลซ่งเกาจง (ซ่งเกาจงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่งใต้) จากหลักฐานเหล่านี้ พิสูจน์ได้ว่าหนังสือเทวราชโองการเป็นของจริง และเชื่อถือได้ ในหนังสือเทวราชโองการฉบับเก่าหน้าที่ 23, 24 มีประโยคพญายมราชทั้ง 10 ตำหนัก เฉลิมฉลองวันประสูติของเฟิงตูมหาราชเจ้า และพญายมเฟิงตูมหาราชเจ้าตรัสว่า “เพื่อชี้แจงการเข้าใจผิดของชาวโลก เมื่อวันเจี่ยเฉินในปลายฤดูวสันต์ปีเหยินอู่ เราได้กราบบังคมทูลเทวราชเจ้า” ย้อนตรวจดูวันเวลาดังกล่าวก็ตรงกับรัชกาลซ่งไท่จง ไท่ผิงซิงกั๋วปีที่ 7(ค.ศ.982) ข้อความ เมื่อวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 8 พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์เจ้านำพญายมราชทั้ง 10 ตำหนัก พร้อมมติของเหล่าทวยเทพขึ้นทูลเกล้าเทวราชเจ้า เป็นเวลาก่อนท่านพญายมเฟิงตูมหาราชเจ้า เชื่อว่าต้องเป็นไท่ผิงซิงกั๋วปีที่ 6

ข้าพเจ้าเห็นว่า คำสอนในหนังสือเทวราชโองการเปรียบเสมือนคำสอนอันเข้มงวดของพุทธศาสนา ฉะนั้นจึงมิควรสันนิษฐานอย่างส่งเดช

ข้าผู้น้อยได้นำพระนามของจักรพรรดิ และยุคสมัยมาลงในบทความนี้ ไม่ใช่เพื่อโอ้อวดตัวเองถูกต้องจริงแท้ไม่มีที่ติ แต่เพียงเพื่อไม่ให้ผู้อ่านวิจารณ์ส่งเดชโดยไม่ยึดหลักความเป็นจริง ในโลกนี้มีสุภาพบุรุษที่เปี่ยมด้วยปัญญาอยู่ไม่น้อย บทความนี้มีข้อผิดพลาดอันใดขอให้ท่านผู้รู้โปรดช่วยชี้แนะ เพื่อให้ท่านผู้อ่าน ท่านผู้ฟังต่อๆ ไปได้มีความเชื่อถือยิ่งๆ ขึ้น

หลี่จงหมิ่น คนเฉียนถังเจียงหมินซัน เขียน ณ ปีเจี่ยอิ๋น

(ค.ศ. 1794) รัชกาลเฉียนหลง

ศาสนาพุทธ และศาสนาเต๋าชอบปรารภเรื่องมรรคผลและกฎแห่งกรรม แต่บัณฑิตหยู (ผู้ศึกษาความคิดขงจื๊อ) มักหลีกเลี่ยงพูดถึงเรื่องราวเหล่านี้ ข้าพเจ้าเข้าใจว่าถึงการศึกษาการนับถือศาสนาอาจแตกต่างกัน แต่ไม่ว่าศาสนาใดล้วนมีเป้าหมายเดียวกันคือ มุ่งชักนำคนสร้างแต่ความดี

ข้าพเจ้ากับท่านหลี่คนหมิงซัน เป็นเพื่อนร่วมเรียนตำราขงจื๊อมาตั้งแต่เด็ก ไม่เคยเข้าหาพระธรรม วันหนึ่ง หลี่หมิงซันนำหนังสือเทวราชโองการมาให้ข้าพเจ้า เมื่อข้าพเจ้าอ่านแล้วพบคำสอนในหนังสือมีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับตำราขงจื๊อ แตกต่างกันเพียง แต่หนังสือเทวราชโองการจะระบุอย่างตรงๆว่าอะไรดี อะไรชั่ว ทุกข์สุขแตกต่าง ดีชั่วแจ่มชัดหนังสือเช่นนี้ขุนนาง ข้าราชการอ่านแล้วย่อมเข้าใจทันที เด็กและสุภาพสตรีเมื่อได้ยินได้ฟังก็สามารถเข้าใจได้ มนุษย์เรามีความแตกต่างระหว่างฉลาดกับโง่เขลา มีปัญญาหรือด้อยความรู้จะปรารภให้เขาบำเพ็ญธรรม เจริญศีล จงรักภักดี กตัญญูกตเวที ไม่ใช่ว่าทุกคนจะรับฟัง ไม่เหมือนหนังสือเทวราชโองการจะชี้ชัดไปเลยว่า ทำดีได้สุข ทำชั่วได้ทุกข์ กฎแห่งกรรมหลีกหนีไม่พ้น ทำให้คนอ่านอกสั่นขวัญแขวน ระทึกจิตเกรงกลัวบาป หนังสือเล่มนี้อ่านผิวเผินเป็นการแนะนำมนุษย์ละเว้นกรรมชั่ว ศึกษาให้ลึกซึ้งแล้วเป็นการแนะนำแนวทางการดำรงชีวิต ตักเตือนชาวโลก ชี้นำความสว่างแก่ประชาชนคุณูปการไม่ด้อยกว่าตำราคัมภีร์ของขงจื๊อเลย

จูหยง คนเฉียนถัง ร่วมแสดงความคิดเห็น

ได้อ่านบทความของท่านหลี่แห่งหมินซัน ด้วยเหตุนี้จึงไปค้นหาประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ซ่ง พบว่าเฉียนซิงปีแรกของราชวงศ์ซ่ง ปีเหยินซี (ค.ศ.1022) เป็นศักราชไท่ผิงปีที่2 ของชี่ตัน ในปีนี้จักรพรรดิซ่งเจินจงสวรรคต (ค.ศ.1022)(ซ่งเจินจงเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์ซ่งเหนือ)รัชทายาทเจินขึ้นครองราชย์ มีพระนามซ่งเหยินจง (ครองราชย์ปีค.ศ.1022-1063 เปาบุ้นจิ้นที่หลายท่านรู้จักก็อยู่ในรัชกาลนี้ ) ปีถัดไปปีกุ่ยไฮ่ (ค.ศ.1023 ) เปลี่ยนศักราชเป็นเทียนเซิ่งตรงกับชี่ตันไท่ผิงปีที่ 3 ชี่ตันก็คือแคว้นเหลียว (เมืองเหลียวอยู่ทางภาคเหนือของประเทศจีน มีอาณาจักรตั้งแต่ปักกิ่งขึ้นไปถึงมองโกเลียในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไปถึงเหลียวหนิงเฮยหลงเจียง และเกาหลีเหนือในปัจจุบัน) ฉะนั้นที่ว่าปีเกิงอู่คือเทียนเซิ่งปีที่ 8 (ค.ศ.1030) ตรงกับแคว้นเหลียวไท่ผิงปีที่10 เป็นที่ถูกต้อง ปีติงเว่ย (ค.ศ.1067) จักรพรรดิ (ซ่งอิงจง)สวรรคต จักรพรรดิซ่งเสินจงขึ้นครองราชย์ปีถัดไป เปลี่ยนศักราชเป็นซีหนิง ฉะนั้นปีอู้เซิน (ค.ศ.1068) คือซีหนิงปีแรก(ค.ศ.1068) เป็นที่ไม่ต้องสงสัย ปีอู้อิ๋นคือจักรพรรดิจื๋อจงเส้าเซิ่งปีที่ 5 ค.ศ.1090 ปีเหยินอู่ คือจักรพรรดิไท่จงไท่ผิงซิงกั๋วปีที่ 7 ค.ศ.982 ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องจริงของประวัติศาสตร์ล้วนมีหลักฐานยืนยันได้

ในหนังสือ (รวมประวัติของเทพเทวดา) มีบันทึกข้อความตอนหนึ่งว่า ปีศักราชเทียนเซิ่น ข้าพเจ้าซ่งเจียว และน้องชายซ่งฉีศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยราชบัณฑิต พบภิกษุชาวหูรูปหนึ่ง (คนจีนโบราณจะเรียกชนชาติที่อยู่ทางเหนือของจีนเป็นชาวหู) ชื่อจิงอู๋ นามภิกษุชือเชี่ยวชาญดูลักษณะ หน้าตา(ดูโหงวเฮ้ง) ภิกษุจิงอู๋ดูโหงวเฮ้งเราแล้วพูดว่า “ซ่งเล็ก(คนน้อง) จะสอบได้ที่ 1 ของแผ่นดิน (จอหงวน) ซ่งใหญ่(คนพี่) ก็ไม่สอบตก หลังจากนั้นผ่านไปสิบกว่าปี เพิ่งเสร็จจากการสอบในฤดูวสันต์ ข้าพเจ้าได้พบภิกษุจิงอู๋อีกครั้ง ท่านอุทานว่า “เจ้าหน้าตามีราศีกว่าเก่า เชื่อว่าคงเคยช่วยเหลือสรรพชีวิตหลายล้านชีวิต การสอบจอหงวนปีนี้แน่นอนซ่งเล็ก(คนน้อง) ต้องได้ที่ 1 แต่เจ้าก็ไม่ด้อยกว่าเขา” ข้าพเจ้าหวนคิดถึงสิบกว่าวันก่อน เนื่องจากฝนตกหนัก ข้าพเจ้าเห็นข้างบ้านมีรังมดใหญ่อยู่รังหนึ่ง กลัวมดถูกน้ำท่วมเลยหาไม้ไผ่ถักเป็นแพให้มดเกาะ แต่ในใจยังมีข้อสงสัยว่า ในการสอบปีหนึ่งจะมีที่ 1 (จอหงวน) 2 คนได้อย่างไร? พอถึงวันประกาศผลซ่งฉี (น้องชาย) สอบได้ที่ 1 ข้าพเจ้า (ซ่งเจียว)สอบได้ที่ 3 พอเข้าเฝ้าฮ่องเต้ ไทเฮา (พระราชชนนี) ซึ่งประทับอยู่ข้างๆ ตรัสว่า น้องชายจะมาก่อนพี่ชายได้อย่างไร จึงเลื่อนข้าพเจ้าขึ้นมาเป็นที่ 1

ภิกษุชาวหูชื่อจิงอู๋กับนักพรตตั้นชือ คือคนเดียวกันตอนตั้นชือมอบหนังสือเทวราชโองการ ให้ลูกศิษย์อู้หมีมีพูดประโยคหนึ่งว่า (ออกเสียงภาษาจีนกลาง : อู๋จิงหลุนหุยเซิงสื่อตี้ เหยินกุ่ยไหลชวี่กวนเอ๋อรจื้อ) สองคำแรก อู๋จงก็คือ ชื่อจิงอู๋ของตั้นชือก็เป็นไปได้

เพื่อการศึกษา จึงคัดลอกข้อความข้างต้นนี้ให้ทุกท่านค้นคว้าตรวจสอบ

เฝิงเอี้ยวแห่งก้วนอวี้ จดบันทึกเพื่อร่วมพิสูจน์

หนังสือเรื่องพุทธะและเทวดา ของสำนักพิมพ์อารามทังจี้ มีบันทึกว่า นักพรตตั้นชือเป็นคนราชวงศ์ซ่งในสมัยซ่งเจิน จงมีจิตเมตตาธรรมเป็นสมุฏฐาน มุ่งมั่นช่วยเหลือชาวโลกผู้ทุกข์ยาก มือถือขักขระ สวมรองเท้าหญ้า จาริกไปทั่วพิภพบังเอิญเข้าไปนรกภูมิด้วยกายมนุษย์ รับมอบหนังสือเทวราชโองการจากพระหัตถ์ของพญายมมหาราชเจ้า นำมาเผยแผ่สู่โลกมนุษย์เพื่อสั่งสอนสาธุชน ต่อมาได้สำเร็จมรรคผลจนสามารถขี่เมฆขึ้นสู่สรวงสวรรค์ในเวลากลางวัน และได้รับการแต่งตั้งเป็นเทพเจ้าหงจี้ ประชาชนจำนวนไม่น้อยเคยพบเห็นเทพเจ้าหงจี้ (นักพรตตั้นชือ) ขี่ลาท่องเที่ยวตามตลาดในชนบทมณฑลเจ้อเจียง ลูกศิษย์ของท่านคือนักพรตอู้หมีก็ได้สำเร็จพระโพธิญาณ จนสามารถควบคุมพลังวัต ไม่ทานอาหารผ่านการหุงต้มเป็นเวลา 10 ปี สุดท้ายมรณภาพด้วยการนั่งสมาธิ

More Posts