พระจี้กงกล่าวถึงกรรมสาม โลภโกรธหลงคือโรค
มนุษย์รักษาความสัมพันธ์ห้า นำเมตตากรุณาและปัญญารักษาได้
อรหันต์จี้กงเสด็จลงประทับทรง วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2527
กลอนนำเสด็จ
พิษทั้งสามร้ายนัก ล้วนหนักหนักโลภโกรธหลง
ไม่ขจัดหมดลง คงหมดทางถึงร้องขอ
พุทธประสงค์แม้น มีดำรัสพันพันข้อ
พระกวนอิมแม้ไม่ท้อ ก็สุดรอพบยากยิ่ง
อรหันต์จี้กง : พิษร้ายทั้งสามตัว (โลภ โกรธ หลง) เป็นโรคสามัญของมนุษย์ โรคพิษเรื้อรังนี้มีการติดต่อสูงมาก คนส่วนมากที่เป็นโรคนี้ ก็ไม่รู้วิธีใช้ยา จึงทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาอีกมาก พิษทั้งสามก็คือ กรรม ทั้งสาม (กาย วาจา ใจ)
คนเราถ้ากรรมทั้งสามไม่บริสุทธิ์ ก็ไม่สามารถสำเร็จได้ (ขจัดเวรหมดเวร) คิดฟุ้งซ่านที่จะขึ้นสวรรค์เหมือนความฝัน นักเรียนที่ตกซ้ำชั้นหากไม่ขยัน คนอื่นก็จะตามทัน ตนเองก็จะได้แต่เฝ้าแหงนมองฟ้า นับว่าน่าสงสารยิ่งนัก
ศิษย์ทั้งหลายก่อนทำการประทับทรงได้สวดมนต์ถึงการกระทำกรรมทั้งสามให้บริสุทธิ์นั้น นับว่าได้ผลเลิศหากปากก็สวดแต่ไม่เข้าใจความหมาย ก็จะได้รับผลน้อยมาก ถ้าประพฤติตามด้วย ไม่เพียงแต่คุ้มครองตัวแล้วยังเป็นการเจริญธรรมอีกด้วย วันนี้อาตมาจึงใคร่จะนำความหมายของบทสวดมนต์นี้ ขยายความให้เข้าใจสักหน่อย
สภาพภายในของกาย คำว่า “จักรวาลนับเป็นฟ้ารอบใหญ่ ร่างกายมนุษย์ก็เป็นฟ้ารอบเล็๋ก” ฟ้ามีสิบสองชั้นฟ้า มนุษย์ก็มีสิบสองขั้นชั้น ฟ้าหนึ่งปีมีสามร้อยหกสิบวัน (จันทรคติ) มนุษย์ก็มีกระดูกสามร้อยหกสิบชิ้น ฟ้าก็มีแปดหนื่นสี่พันดาวนักษัตร มนุษย์ก็มีรูขุมขนแปดหมื่นสี่พันรู ฟ้ามีฤดูใบไม้ผลิ ร้อน ใบไม้ร่วงและหนาว มนุษย์ก็มี ยินดี โกรธ เสียใจ และสบายใจ ฟ้ามีธาตุห้าอย่าง (ทอง น้ำ ไม้ ไฟ ดิน) มนุษย์มีอยัยวะภายในทั้งห้า (หัวใจ ตับ ปอด ม้าม ไต) ฟ้ามีสุริยัน จันทรา ดารา มนุษย์ก็มี อสุจิ อากาศธาตุ สติ....เป็นต้น ดังนั้นจึงนับว่า ฟ้าไม่ยิ่งใหญ่ไปกว่าคน คนก็ไม่เล็กไปกว่าฟ้า มนุษยชาติกับจักรวาลจึงเหมือนหนึ่งเป็นกายเดียวกัน ในความเวิ้งว้างก็มีวิญญาณสัมผัสกับลมปราณ
การหมุนเวียนของฟ้าดินทั้งสี่ฤดูจึงไม่เหน็ดเหนื่อยสรรพสิ่งที่ก่อเกิดเจริญเติบโต ล้วนเป็นผลงานด้วยมหาบุญญาธิการของมหาสัทธรรม ที่ปราศจากรูปลักษณ์ ความยิ่งใหญ่ของจักรวาลและความลึกลับ มิเพียงแต่ไม่สามารถจะตั้งชื่อตามรูป(เต๋า) ที่เกิดเปลี่ยนแปลง ซึ่งครอบทั่วความว่างเปล่าและธรรมภพซึ่งไม่สามารถหยั่งรู้ได้หมดสิ้น อย่างวิญญาณของคนอันเป็นหลักของร่างกาย ครอบคลุมทั่วภายใน ถึงส่วนย่อยเล็กที่สุด อวัยวะต่างๆ ท่อต่างๆ เส้นประสาท ไม่มีส่วนไหนที่วิญญาณไปไม่ถึง ทำให้มีชีวิตที่คงอยู่อย่างสมบูรณ์เหมือนมหาจักรวาลที่สอดคล้องกับร่างกายมนุษย์ ดุจเดียวกับมหาสัทธรรม ที่ทำให้ก่อเกิดและเปลี่ยนแปลงที่สลับซับซ้อนและยิ่งใหญ่แห่งจักรวาลกับสรรพสิ่ง ทั้งหมดเหมือนความซับซ้อนภายในของร่างกายนั้นเอง
จิตสามหมื่นหกพันดวง วิญญาณของคนๆหนึ่งที่ครอบคลุมไปทั่วสรรพางค์กาย ซึ่งควบคุมการหล่อเลี้ยงทุกส่วนภายในร่างกาย ทำให้แขน ขาและอวัยวะภายในทั้งห้าทำงานตามปกติ การเจริญสมบูรณ์ ก็คือ จากหนึ่งที่ก่อเกิดสรรพสิ่ง อันเป็น “ความลี้ลับของช่องต่างๆ” ประดุจหนึ่งจอมทัพที่ควบคุมขุนศึกและพลทหารจำนวนนับไม่ถ้วนแต่ละคนประจำหน้าที่ ดังนั้น การทำกิจการใดๆก็ตามจำเป็นต้องถึงพร้อมทั้ง ปาก มือ และใจ ทั้งหมดรวมกันเป็นหนึ่งรอบวง เป็นสามร้อยหกสิบองศาพอดี จึงตั้งชื่อให้เป็นสามหมื่นหกพันดวง ฝ่ายเต๋ามักพูดว่า “วิญญาณสามเจตสิกเจ็ด” ใจเป็นที่อยู่ของจิต ตับเป็นที่อยู่ของวิญญาณบ้านเป็นที่อยู่ของธรรมารมณ์ ปอดเป็นที่อยู่ของเจตสิก ไตเป็นที่อยู่ของอสุจิ (ไตเป็นที่อยู่ของอสุจิ ภพหลังเป็นอสุจิขุ่น ภพก่อนมีปัญญา ว่างจากความสุข พรหมจรรย์จึงมั่นคง ธาตุน้ำจากทิศเหนือจึงเข้าร่วม) ซึ่งวิญญาณตามจำนวนหมื่นๆดวงที่ครอบคลุมถึงส่วนย่อยเล็กๆ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในร่างกายของมนุษย์ สักวันหนึ่งพอสิ้นลมหายใจ วิญญาณผละจากร่างกาย หมายถึงการตายดังนั้นมนุษย์ในยามปกติควรจะกราบไหว้จิตวิญญาณของตนรักษาให้ใจผุดผ่อง จิตสงบ วิญญาณสังขารก็อยู่ร่วมกันซึ่งจะทำให้วิญญาณมีสุขภาพดีทั้งสามหมื่นหกพันดวง จะมีพลังงาน มิฉะนั้นแล้วไอธาตุร้ายก็อาจบุกรุกเข้ามา วิญญาณกุศลก็หลุดห่างกายไป ทำให้เกิดโรคได้
หยางเซิง : อาจารย์ได้นำเอา “สภาพภายในของร่างกายและจิตสามหมื่นหกพันดวง” อธิบายจบลง ถ้าหากไม่ได้อธิบายก็ไม่เข้าใจความหมายเป็นแน่แท้ ในร่างกายคนเรามีจิตอยู่ตั้งสามหมื่นหกพันดวง นับว่าไม่ใช่ย่อยทีเดียว ดุจดั่ง “เมืองสวรรค์” คิดว่าถ้าสามารถบำรุรักษาจิตสามหมื่นหกพันดวงนี้ให้ดีๆไม่ประกอบกรรมชั่วอันขัดต่อเทพเจ้าแล้ว เจ้าจิตนี้ก็ทำหน้าที่เป็นเจ้าผู้ปกปักรักษา คนที่ประพฤติในทางที่ถูกต้องเทพเจ้าก็คุ้มครอง ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้เป็นเทพเจ้าเลย
อรหันต์จี้กง : ถูกต้องแลัว เทพ พุทธ อยู่ไม่ไกล ภูเขาจิตอยู่ที่นี่ผู้บรรลุย่อมได้รับ อย่างจิตสามหมื่นหกพันดวง ก็อยู่ในร่างกายแล้ว หากรู้จักเคารพนับถือ ไม่ทำชั่ว ย่อมมีโอกาสได้เป็นเทพแน่ จะขอกล่าวต่อไป
การเคลื่อนปฎิบัติซ่อนเงื่อน วิญญาณที่ใช้ทางตา ก็เรียกจักษุวิญญาณ ที่ใช้ทางจมูก ก็เป็นฆานวิญญาณ และหู สิ้น กาย ใจ ต่างๆเป็นต้น ก็เป็นวิญญาณทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการ นั่ง นอน ยืน ล้วนต้องใช้วิญญาณเหล่านี้ เมื่อใช้ถูจังหวะก็จะเรียกว่า “เต๋า” หรือ “เคี่ยว” ก็เหมือนการหมุนเวียนของฟ้าดิน ฤดูทั้งสี่ที่ทำงาน ซึ่งล้วนเป็นกลไกอันซับซ้อนของมหาสัทธรรม โดยแท้
สำหรับ วิญญาณ(จิต) ที่ไม่สามารถตั้งชื่อได้ ที่เกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์สามารถทำสิ่งของได้ สร้างบุญญาธิการได้ฝึกฝนปฏิบัติธรรมได้ มีความเมตตกรุณายินดีและเสียสละสามารถร่วมคิดและวางแผนการ กับการเปลี่ยนแปลงของฟ้าดิน ดังนั้น คนๆหนึ่งที่เข้าร่วมสำนักทรง ศึกษาธรรมการขอให้อยู่ในกฎเกณฑ์และเป็นตัวอย่าง ไม่กำหนดเพียงแต่อยู่ในศาลเจ้าหรือวัดวาอารามเท่านั้น แม้ในเวลาทำงานหรือเดินเหินอยู่ หรือพักผ่อน ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง แม้แต่ชั่วขณะหนึ่งก็ไม่หลีกห่างจากธรรม เพื่อให้จิตได้เกิดมหาบุญญาธิการซึ่งจะเข้าร่วมกับมหาสัทธรรมได้ มหาบุญญาธิการที่เกิดขึ้นนี้เพียงลมหายใจครั้งหนึ่งก็สามารถติดต่อกันได้
ถึงแม้ “เต๋า” และ “จิต” ไม่สามารถจะได้ยิน มองเห็นได้แต่สรรพสิ่งที่ก่อเกิดเติบโตแตกดับ การนั่ง นอน เดิน ยินดีโกรธ เสียใจ และดีใจ ของมนุษย์ เป็นต้น ล้วยเป็นอิทธิพลของเต๋าและจิต ถึงแม้ว่าจะกว้างใหญ่ไพศาลไม่อาจหยั่งได้ก็ตามแต่ท่ามกลางความว่างเปล่า ก็ยังคงมีอยู่อย่างลี้ลับ ท่ามกลางความ “อนิจจัง” ก็ยังมี “นิจจัง” อยู่ ดังนั้นจึงกล่าวว่า การเคลื่อนปฏิบัติซ่อนเงื่อน
กัปก่อนกับกรรมหลัง วิญญาณเดิมของมนุษย์ดั่งเดิมเกิดมาจาก “บ่อเก๊ก” ในพุทธสูตรว่า “มีมาก่อนการเริ่มต้นของกัป” ซึ่งก็มีความหมายดุจเดียวกัน คำว่า บ่อเก๊กหมายถึง ไร้กาลเวลา ตั้งแต่สมัยที่ยังไม่มีชื่อเรียก การดำเนินของฟ้าดิน โดย “บ่อเก๊ก” ให้กำเนิด “ไท้เก๊ก” แล้ว ฟ้าดินจึงเกิดขึ้น จึงเกิดมีรูปลักษณ์ มีรูปคู่ขึ้น ดังเช่น มี “ฟ้า” ย่อมมี “ดิน” มี “สูง” ย่อมมี “ต่ำ” มี “ดี” ย่อมี “ชั่ว” มี “เกิด” ย่อมมี “ตาย” .....ต่างๆเป็นต้น ซึ่งเป็นดินแดนที่มีลักษณะเป็นคู่ อย่างจิตของมนุษย์ เดิมทีไม่มีชื่อจะเรียกกเวิ้งว้าง ขมุกขมัว อยู่เหมือนการคู่กัน อันชื่อทั้งหมดของรูปลักษณ์ที่ปรากฎในโลกนี้ ที่จริงไม่มีกาลเวลา ช่องว่างที่คู่กัน กล่าวคืออยู่เหนือกาลเวลาและช่องว่าง (TIME & SPACE)จิตคงอยู่ชั่วกัปชั่วกัลป์ ไม่สูญสลาย เมื่อเข้าใจความไร้คู่แห่งบ่อเก๊กแล้วกัปก่อนๆก็คือ ก่อนการเริ่มต้นของกัป
กรรมหลัง ก็พูดถึง ภายหลัง กัปที่นานมาแล้วตั้งแต่เวลาที่ไม่กำหนดในอดีต ปัจจุบัน ถึงอนาคตกาลอันไกลโพ้นไม่ว่าจะเป็นอะไร ที่ใดก็ตาม ทำกรรมอะไรก็ตาม ทำแรงกรรมอะไรก็ตาม จิตทั้งสามหมื่นหกพันดวง (วิญญาณเดิมจิตเดิม) จะคงอยู่รอบกายของเธอ เหมือนเงาติดตัวไม่มีวันห่าง
ขอให้กายนี้เป็นสุข ในพระสูตรว่า “บรรลุเหมือนดั่งได้ตะเกียงยามค่ำคืน ห้องมืดที่ปิดหน้าต่างไว้จะสว่างฉับพลันอันกายนี้ถ้าไม่ช่วยเหลือในชาตินี้ จะรอถึงเมื่อไรจะได้ช่วยเหลือกายนี้” ทะเลกรรมอันเวิ้งว้าง ทุกข์ร้อนอันไม่สิ้นสุดหากยอมมอบตัวแก่พุทธองค์ ก็มีโอกาสได้ขึ้นฝั่ง ดังนั้นการศึกษาพุทธธรรมบำเพ็ญเพียรควรจะได้เข้าใจเพื่อให้ถึงจุดหมายคือ “ความหลุดพ้น” คนๆหนึ่งไม่ว่าจะนั่ง นอนเดิน ไม่ว่าจะในชาตินี้หรือชาติหน้า หากต้องการให้จิตวิญญาณสบาย ต้องกระทำสิ่งที่ไม่ละอายต่อใจ ยึดมั่นในพระธรรม ดำรงอยู่ในอริยมรรค หลีกให้ห่างจากความชั่วร้าย เดินอยู่บนหนทางที่สว่าง นานๆไปจิตทั้งหลายในร่างกายจะสดใสบริสุทธิ์เสมอ เข้าใจในสัจธรรมเสมอเฝ้ารักษาจิตโพธิสัตว์ไม่กลับหัวกลับหาง ไม่ติดขัดอยู่อย่างธรรมชาติ ก็สามารถเป็นเทพเจ้า อยู่ร่วมกับ พุทธ เต๋า ได้
หยางเซิง : อาจารย์ได้บรรยายเรื่อง “การเคลื่อนบริสุทธิ์ ซ่อนเงื่อน กัปก่อนกับกรรมหลังขอให้กายนี้เป็นสุข” จบลงศิษย์รู้สึกว่าระหว่างเจริญธรรม ไม่ว่าจะเป็นขณะเคลื่อนไหวหรือปฏิบัติการ หรือการซ่อนเงื่อน จิตใจต้องมีเทพเจ้าอยู่จึงจะไม่กระทำสิ่งเลวร้าย (สิ่งที่ละอาย) ให้อยู่ภาวะเช่นนี้ตลอดกาล กายเราก็จะเป็นสุข ถึงแม้จะเป็นยามค่ำคืน มีผีมาเคาะประตู พอเราเปิดประตูออกมา เมื่อผีเห็นเท่านั้นก็รู้ว่าเคาะผิดบ้าน ก็ยังต้องขอโทษต่อเราด้วยซ้ำไป
อรหันต์จี้กง : กับก่อนผ่านไปแล้ว กรรมหลังยังไม่มา ตามกฎแห่งกรรม กรรมสนองตบไม่ผิดเพี้ยน ชาวโลกควรระมัดระวังสนใจ ยังเป็นคนที่ยังไม่ใช้หนี้เก่าชาติก่อนชาตินี้ยัง “ขาดทุน” “ขาดบุญ” (ไม่สะสม) ชาติหน้ากรรมหลัง(กรรมเก่า) ยิ่งชดใช้หมดยาก ช่างน่ากลัว น่าขยะแขยง! จะขออธิบายต่อไป
ให้อยู่ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งสามตลอดเวลา พุทธศาสนามีพระรัตนตรัยคือ “พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์” เต๋าก็มีซำป้อ คือ “เต๋า พระสูตร ธรรมาจารย์” มนุษย์ก็มีสิ่งล้ำค่าสามอย่างคือ “อสุจิ ธาตุ(ลมปราณ) สติ” ผู้ที่เรียนพุทธธรรมบำเพ็ญเพียร จะต้องรักษา “ศีลสมาธิ ปัญญา” ไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รักษาอสุจิ (พรหมจรรย์) ลมปราณและสติปฏิบัติตามเต๋า พระสูตร และธรรมาจารย์ เพื่อบรรลุ
นานๆไป กรรมเก่าค่อยๆ เบาบางลง รัศมีจิตก็เพิ่มพูนสมปราณสม่ำเสมอจิตก็สดใส ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายก็สามารถเข้าสู่ประตูธรรมในที่สุด อยู่กับสัจจะแท้จริงเสมอ
เมื่อถึงคราวแยกแตกสลาย กายมนุษย์ประกอบด้วยมหาภูตทั้งสี่ มีกรรมสัมพันธ์ทำให้เกิด เมื่อถึงคราวอนิจจังมาถึง มหภูตทั้งสี่ก็แตกแยก ถึงแม้จะมีร่างกายแข็งแรงก็ไม่พ้นที่จะพังทลาย กลับคืนสู่ปฐพี
ถึงแม้ฟ้า-ดิน จะมีอายุขัยอันยาวนาน ก็ย่อมมีเวลาถึงคราวแตกดับ ฟ้าดินที่เป็นรูปร่าง โลกวัตถุจะเป็นรูปเป็นร่างมาก่อน โลกชีวะเป็นรูปเป็นร่างทีหลัง แต่เมื่อฟ้า-ดินสลาย โลกชีวะก็จะแตกสลายก่อน โลกวัตถุจึงสลายตามโลกทั้งสามย่อผ่านช่วงเวลาทั้งสี่ประการคือ การก่อเกิดขึ้น การทรงอยู่ การแตกสลาย และการว่างเปล่า เมื่ออยู่หลังกัปที่หกสิบสี่(มหากัป) โลก จตุรภูมิ ก็จะแตกสลายเป็นอันดับต่อไป นั่นหมายถึงสิ่งมี “รูปลักษณ์” มี “ชีวรูป” ก็จะกลับคืนสู่สภาวะเดิม คือไม่มี หรือว่างเปล่า
พูดถึงชีวิตคน เกิด เจ็บ ตาย โกรธ เกลียด เป็นต้นต้องผจญเคราะห์กรรมต่างๆ เช่น ผจญน้ำ ไฟ อาวุธ สงคราม และโรคร้าย ซึ่งนับว่ามหากัลป์ ดังนั้น ภายใต้ภาวะการผจญเคราะห์ มีมารผจญ จำเป็นต้องอดทนสงบใจ อย่าท้อถอยต่อการยึดมั่นในธรรม มนุษย์หากได้บำเพ็ญเพียรต้องไม่เกรงกลัวความอนิจจัง เมื่อถึงคราวแตกดับ จิตวิญญาณกลับมั่นคงปลอดภัย ดังนั้น เคราะห์ร้ายจึงไม่ระคายต่อความสุขของจิตวิญญาณ ซึ่งกำลังหลุดพ้นจากธาตุทั้งห้า กลายเป็นคนที่หลุดพ้นจากสามภพ จึงจะสามารถถึงการแตกสลายแต่จิตแท้ของเราไม่แตกดับ
ธรรมกายคงอยู่ไม่แตกดับ วิญญาณของมนุษย์เกิดมาแต่ฟ้า-ดินปางก่อน ภายหลังฟ้า-ดิน ก็ยังไม่แตกดับ ดังนั้นเคราะห์กรรมอายุขัย เป็นวิถีทางโลก จิตเต๋า จิตพุทธ เป็นเชื้อพันธุ์แท้จริงที่พ้นจากโลก ผู้ที่ฝึกฝนบำเพ็ญเพียร เมื่อได้รับรสชาติผ่านความลำบากจาการฝึกฝนแล้ว เมื่อถึงคราวกายแตกดับ หากยังมึนงงไม่รู้จะไปทางไหนดี เมื่อรู้สึกตัวอีกครั้งก็ไปเกิดอีกแล้ว ในอีกหมู่บ้านหนึ่งหากเป็นธรรมกายที่แท้จริงปรากฎขึ้น กายนี้จะไม่ไปเกิดครรภ์เนื้ออีกเป็นพุทธกายที่สง่าผ่าเผย ปลดเปลื้องจากการผูกมัดของเนื้อหนังมังสาที่เหม็น สามารถที่จะท่องเที่ยวไปทั่วจักรวาลหลุดพ้นจากวัฎสงสารไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก
ตอนภาวนาคาถาแท้นี้ หมายถึงตอนสวดคาภานี้ มนุษย์ต้องเชื่อมั่นในพระสูตรคาถา สะสมทุกวันเดือน ขยัยหมั่นปฏิบัติ แต่อย่าแสดงอิทธิฤทธิ์ของคาถา ก็สามารถอาศัยเดชานุภาพนี้ บรรลุสู่แนวทางที่จริงแท้แน่นอน ค้นหาตัวจริงของเรา ดังนั้นจึงกล่าวว่าเป็นคาถาแท้
กาย ใจ ปาก ต้องสะอาดบริสุทธิ์ สนุกกับอายตนะทั้งหกอย่างสุดยอด สร้างกรรมสัมพันธ์ ปุถุชนสร้างกรรมความสัมพันธ์ที่ใจโกหกหลอกลวงนี้ ทำผิดทำนองคลองธรรมเพราะการโกหกหลอกลงเป็นเหตุ จึงสร้างกรรมให้เกิดสัมพันธ์ขึ้น จึงได้รับผลกรรมตามสนอง คนเราถ้าเข้าใจความน่ากลัวของกรรมสามนี้ ก็จะหลีกห่างความชั่วร้ายไม่กล้าที่จะก่อกรรมทำชั่วทางกาย ใจ และวาจา อยู่ห่างจากอกุศลบทสิบ และความเลวแปดประการ ไม่แปดเปื้อนกิเลสทั้งปวง ก็จะได้เข้าสู่แดนพุทธ เมื่อกรรมสามบริสุทธิ์แล้ว ความขัดข้องทั้งปวงก็หมดไป ก็จะได้รับทิพย์อารมณ์ที่ไม่มีขอบเขตตลอดกาล
รีบๆ ทำตามคำสั่ง มนุษย์เอย รีบเข้าเถอะ พิษภัยทั้งสามตัวนี้จงขับไล่ออกไปไกลๆ ก็เหมือนกฎหมายที่มีคำสั่ง สำหรับนักโทษ รอดพ้นจากคุกตะรางยาก หากตกลงขุมนรก ก็ไม่อาจได้ผุดได้เกิด ยังแดนสุขาวดี นี่ก็เป็นเจ้าแห่งจิตธรรมของเธอ พระพุทธเจ้าประจำบ้านมี่คำสั่งให้เธอรีบๆสำนึกแก้ไข มิฉะนั้นก็จะไม่ทันการอีกครั้ง “รีบๆ ทำตามคำสั่ง” เป็นวิธีที่ใช้อัญเชิญเทพเจ้าด้วย ดังนั้นการภาวนาสวดคาถานี้ควรจะภาวนาไว้ในใจ อย่าสวดออกเสียงจะดีกว่า
หยางเซิง : ท่านอาจารย์ได้อธิบาย “ให้อยู่ในสิงศักดิ์สิทธิ์ทั้งสามตลอดเวลา เมื่อถึงคราวแยกแตกสลาย ธรรมกายคงอยู่ไม่แตกดับ ตอนภาวนาคาถาแท้นี้ กาย ใจ ปากต้องสะอาดบริสุทธิ์ รีบๆทำตามคำสั่ง” อีก
ให้อยู่ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งสาม นับว่าเป็นการเจริญ “ธรรมบุญญาธิการและจิต” หากมนุษย์สามารถเฝ้ารักษาธรรม บุญ และจิต ให้คงอยู่ ก็เหมือนได้อยู่บ้านศักดิ์สิทธิ์เมื่อพบกับเคราะห์กรรมต่างๆนั้น ร่างของเราก็จะมีพุทธรังสีคอยปกป้องรักษา ดุจวัชรปกป้อง ไม่เกิดไม่ดับไม่ว่าเคราะห์กรรมแค่ไหนก็ยังคงอยู่ ก็เหมือนบุญกุศลแผ่ลมปราณไม่แตกสลาย ชาวโลกควรภาวนาคาถานี้จะได้ระบายความสกปรกของ กาย ใจ และปาก ต้องมีไฟรีบเร่งผลจะเกิดปัญหาเฉียบขาด จึงจะสำเร็จได้
อรหันต์จี้กง : คาถากรรมสามบริสุทธิ์ได้อธิบายจบลงแล้วศิษย์หยางก็ได้เพิ่มเติมให้ละเอียดทำให้เข้าใจง่าย เมื่อสวดคาถาต้องเข้าใจความหมายของคาถา ผลรับจะลึกซึ้งแน่นอนและรวดเร็ว กรรมสามเป็นหลักกรรมของมนุษย์ (ทุกคนถูกครอบงำได้ง่าย) ดังนั้นจึงต้องเอากรรมสามที่สกปรก แก้ไขให้กรรมสามบริสุทธิ์ ดังนั้น กาย ใจ ปาก ต่างก็บริสุทธิ์ก็จะได้รับความศักดิ์สิทธิ์สามประการ เป็นการพ้นเคราะห์กรรมสู่มรรคผล นิพพาน คืนนี้พอแค่นี้ ขอให้ทุกคนปฏิบัติเถิด
เจ็งซำเงี๊ยบซิ้งจิ่ง คาถากรรมสามบริสุทธิ์(คำแปล)
ซิง ต้ง จู ไหล่ เก๊ง สภาพภายในของกาย
ซำ บ่วงหลัก เชย ซิ้ง จิตสามหมื่นหกพันดวง
ต่ง จัก ลี ฮก ชั้ง การเคลื่อนปฏิบัติซ่อนเงียบ
เจ่ย เกียบ เป่งเอ่า เงี๊ยบ กัปก่อนกับกรรมหลัง (กรรมเก่า)
ง่วง อั้ว ซิง จื่อ ไจ๋ ขอให้กายนี้เป็นสุข
เซี้ย จู๋ ซำ ป้อ ตัง ให้อยู่ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งสามตลอดเวลา
ตึง อี เกียม หวย ซี้ เมื่อถึงคราวแยกแตกสลาย
อั๊ว ซิง เซี้ย ปุก เมียก ธรรมกายคงอยู่ไม่แตกดับ
ส่ง ฉือ จิง บุ่ง ซี้ ตอนภาวนาคาถานี้
ซิง ซิม เขา เงี๊ยบ ไก เขง เจ๋ง กาย ใจ ปาก ต้องสะอาดบริสุทธิ์
กิ๊บ กิ๊บ หยู่ หลุก เหลง รีบๆ ทำตามคำสั่ง