mindcyber 2 years ago

บำเพ็ญพลังสติ

กิ่วเทียนเฮี้ยงนึ้ง

         ที่กล่าวกันว่า : “ทะเลสงบไร้คลื่น” ส่วนลึกสุดของมหาสมุทรเป็นที่สงบไม่มีคลื่น ดุจดั่งผู้ได้อบรมอย่างยิ่ง “มีความหนักแน่น” มีความสุขุมอุดมด้วยปัญญาสามารถใช้วิธีนุ่มนวลแก้ปัญหาได้ในแต่ละเรื่องเพื่อให้ใจของตนเองมุ่งสู่ “ทางสายกลาง” จะได้ผ่านชีวิตที่ปรองดอง               

               การบำเพ็ญเป็นการรักษาใจของตนอยู่ใน “ทางสายกลาง” ที่ว่า “ทางสายกลาง” ก็คือไม่เอนไม่เอียง แต่ละวันดำเนินชีวิตด้วยใจที่เป็นกลาง ไม่ให้เกินเลยหรือพร่องขาด ไม่ให้ร้อนรนหรือสุดโต่ง เพราะคนมีวิบากกรรมและนิสัยที่สั่งสมมาหลายชาติ จึงมักหลุดออกโดยไม่ทันรู้ตัว นิสัยไม่เปลี่ยนแปลง ดวงชะตาจึงรับโทษตามวิบากกรรมที่ตนทำเอาไว้ เพราะฉะนั้น ทัศนนิยมของแต่ละบุคคลสร้างนิสัยขึ้น แล้วนิสัยนี้ก็จะมีอิทธิพลต่อดวงชะตา ผู้บำเพ็ญหากสามารถเจริญในการปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นการไหว้พระ นั่งสมาธิ สวดมนต์ และนมัสการ ก็สามารถที่จะแปรเปลี่ยนกรรมาของตนเองให้หมดจดได้ แปรเปลี่ยนทัศนนิยมของตนเอง คนโบราณกล่าวไว้ว่า “นั่งสงบพิจารณาความผิดตน อย่าได้วิจารณ์ความผิดคนอื่น” เป็นการอบรมให้ย้อมนมองตน มองการปฏิบัติของตน ก็จะสามารถเสริมสร้าง “พลังสติ” ของตนเอง ก็จะไม่ร้อนรนเมื่อมีเรื่อง เยือกเย็นได้ เอาปัญญาไปเผชิญหน้ามัน โลกนี้ทำไมมีเรื่องวุ่นวายมากนัก ความเกี่ยวข้องระหว่างกันทำไมจึงไม่มีทางกลมเกลียวกันได้ ในครอบครัวมักเต็มไปด้วย “ดินระเบิด” ความไม่ “ปรองดอง” กันเช่นนี้ ที่สำคัญก็ตอนที่ตนเกิดเรื่องขึ้น ไม่สามารถเยือกเย็นเอาปัญญาไปแก้ไข      

         

                “อารมณ์” เกิดจาก “ใจ” แต่ละคนก็มี “อารมณ์” อยู่ช่วงหนึ่ง ถ้าใจไม่เยือกเย็นพอก็จะปล่อยออกมาเป็น “ระเบิดอารมณ์” ซึ่งมี “แรงสังหาร” จึงได้ชื่อว่า “อารมณ์สังหาร” ๆ นี้คนเขายำเกรงก็จะอยู่ห่าง ๆ มีแต่ “อารมณ์ละมุนละไม” จึงเป็น “มงคล” ดังนั้นจึงพูดว่า “อารมณ์ละมุนละไมเงินทองงอกเงยขึ้น” เพราะ “อารมณ์ละมุนละไม” เหมือนทำให้คนได้ “อาบลมแห่งฤดูใบไม้ผลิ”  (ตากลมเย็น) คนก็มีความสบายใจอยากเข้าใกล้ เพราะฉะนั้นการบำเพ็ญก็คือการ “ควบคุมอารมณ์”  การ “ควบคุม” ไม่ใช่เป็นการ “กดข่ม” หากเป็นปรากฏการณ์ที่มาจาก “พลังสติ” เปรียบได้กับคนที่เห็นอะไรขวางตาเสมอ ๆ มักถือสา เพราะ “พลังสติ” ไม่พออย่างที่เขาพูดกันว่า “จิตใจไม่แน่นอน” ดังนั้นจึงมักเกิด “บ้าคลั่ง” กระพือ “ลมพายุ” ที่ทำให้เกิด “อัคคีภัย” และ “แผ่นดินไหว”                 

               อรมณ์ของคนที่เกิดขึ้นแล้วระงับไม่อยู่ ก็เหมือนเกิดลมพายุ “ตาแห่งลมพายุ” จะมีแรงข่มขู่ที่รุนแรง ช่องกลางของลมพายุมีแรงสังหารมากที่สุด มักมีการเปรียบเปรยคนที่มีอารมณ์ เกิดขึ้นว่า “พายุฟาดหาง” ดังนั้นคนที่มีนิสัยไม่มั่นคงเมื่อเกิดอารมณ์ คนรอบข้างรับเคราะห์             

  

               พุทธสูตร : “ไฟไหม้ป่ากุศล” ชาวโลกที่พลังสติไม่พอ เมื่อเกิดอารมณ์ไม่เพียงทำให้บุญกุศลที่ทำไว้ก่อนหมดไป “ไฟโทสะ” ไม่เพียงทำลายทรัพย์สมบัติยังทำลายคนอื่น ตนเองก็หนีไม่พ้น “ภัยปาก” เพราะฉะนั้นคนที่มีอารมณ์บ่อย ๆ ไม่เพียง “ปัญญาและชีวิตห้อยอยู่บนเส้นด้าย” ยังทำให้ปวดหัว หัวใจเต้นแรง ก่อให้เกิดโรคหัวใจ ความอันโลหิตสูงได้อีกด้วย               

               เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ก็สั่นสะเทือนสิ่งก่อสร้าง สามารถทำให้อาคารสูงทลายราบเป็นหน้ากอง หากวิ่งหนีไม่ทันก็อาจถูก “ฝังทั้งเป็น” จิตมักกล่าวว่า “เมื่อเกิดโทสะขึ้น ประตูภัยรอบด้านก็เปิดขึ้น” คนส่วนมากอดทนยับยั้งไม่อยู่ ก็กระทำสิ่งที่เป็นภัยกับตนเองและผู้อื่น แรงทำลายล้างดุจดังแผ่นดินไหว               

               ทำไมจึงเกิด อัคคีภัย แผ่นดินไหว และลมพายุ ขึ้นเล่า ? เพราะคนไม่รู้จักย้อนมองตน ได้แต่กล่าวโทษผู้อื่น ทั้งนี้เพราะคอยปกป้องจิตใจที่ยกย่องตนเองและใจที่เห็นแต่แก่ชื่อเสียงยศศักดิ์ความมั่งมี               

               วิธีการบำเพ็ญล้วนเป็นการให้คนค้นหาตนเอง ไขปัญญาฟูขึ้น สามารถสำเร็จสมบูรณ์ในวิถีโลก และก้าวออกจากวิถีโลกเป็นหลักแรก               

               ถ้าหากบำเพ็ญมาหลายปีหรือเข้าสู่ธรรมะหลายปี ถ้ายังไม่มี “พลังสติ”  “ระงับอารมณ์ไม่อยู่”  แสดงว่าผลการปฏิบัติของตนไม่ถึงที่สุด ควรได้มีการสำนึกตนอย่างลึก ๆ แล้วก้าวต่อไปข้างหน้า   

0
617

อริยพจน์ตั๊กม้อ

1654918052.jpg
mindcyber
1 year ago

คิตพจน์เทพยดาเมฆขาว

1654918052.jpg
mindcyber
1 year ago
เล่าจือ

เล่าจือ

1654918052.jpg
mindcyber
2 years ago

อริโยวาทฮ้อเซี่ยโจ้ว

1654918052.jpg
mindcyber
2 years ago

เส้นทางอริยะ ตอนที่ 10

1654918052.jpg
mindcyber
1 month ago