แปลโดยท่านพุทธทาส
ฝึกนานพอ ก็มีผล ดลใจสัตว์
ค่อยขจัด จิตร้าย กลายอ่อนไหว
ปราบวัวป่า อย่าประมาท ก่อนมั่นใจ
ผูกเชือกไว้ กับไม้ต้น คอยยลตาม
ผู้ฝึกอดทนฝีกนานพอจนได้ผลแน่นอนคือวัวเปลียนนิสัย คำว่านานพอ มีความหมายมากที่สุดโดยเฉพาะสำหรับคนสมัยนี้ หมายความว่าเป็นปุถุชนมานับสิบๆ ปี แล้วจะมาเป็นอริย กันด้วยการปฏิบัติในชั่วพริบตาเดียวนั้นเป็นการหลอกตัวเอง จิตวัวเปลี่ยนไป คือกิเลสถูกทำลายหมดเชื้อ เหลืออยู่แต่สติปัญญาตลอดกาล ต่อไปนี้ คิด พูด ทำ อะไรไม่เหมือนแต่ก่อนอีก สิ้นความป่าเถื่อนดุร้ายและพิษสงทุกอย่าง แต่ผู้ฝึกก็ยังไม่ยอมมอบความไว้วางใจโดยสิ้นเชิง ยังคงผูกไว้กับต้นไม้และระวังดูแลเชือกที่ผูกให้เรียบร้อยอยู่เสมอ นี้คือหลักสำคัญของการรักษาผลที่แรกได้คือจะต้องย้ำหรือทำใจให้ดูดดื่มชัดเจนซ้ำเป็นเวลานานพอควรทีเดียว ยิ่งถ้าเป็นเรื่องของการเจริญฌานหรือสมาธิด้วยแล้ว การย้ำให้ตายตัวและคล่องแคล่วเช่นนี้ ยิ่งมีความจำเป็นยิ่งขึ้นไปอีก
จงสังเกตภาวะที่วัวได้ขาวมากขึ้นอีกจนถึงไหล่และขาหน้าทั้งสองขา