วันนี้มาอยู่ที่นี่ฟังธรรมะ เขาพูดเรื่องการกินเจกันทั้งวันตอนนี้เรารู้ว่า การกินเนื้อเขานั้นเป็นบาป เป็นอกุศล แต่เราติดอะไร เรามีนิสัยความเคยตน คือติดรสชาติที่เราปรุงแต่งขึ้นใช่หรือเปล่า แล้วเราก็ติดในสิ่งนี้รสชาติเกิดที่อวัยวะส่วนไหนของร่างกาย(ลิ้น)ลิ้นมีกี่นิ้ว(สามนิ้ว)ร่างกายมีนับไม่ถ้วนนิ้ว สูงก็สูง ใหญ่ก็ใหญ่ แต่แพ้ลิ้นสามนิ้ว ถ้าหาก เอาเนื้อสัตว์แดงสดๆ ให้ศิษย์จะกินไหม (ไม่กิน) เพราะไม่อร่อย กลัว พยาธิ กลัวโรคภัยไข้เจ็บ แต่ปรุงแล้วเราก็กล้ากิน การปรุงก็คือเราเป็น ผู้ปรุง เปรียบเสมือนกิเลสที่มีในใจของเรา เสื้อสวยสักตัวก็คือผ้าหนึ่งผืนบ้านสวยหลังหนึ่งก็คือ อิฐ ปูน ทราย รกเก๋งคันใหญ่ก็คือเหล็กอันหนึ่ง จริงๆ แล้วเนื้อสัตว์ที่กองอยู่ในจานอาหารบนโต๊ะของเราก็คือ ไก่ที่ร้อง ได้ กะพริบตาได้ หมูในจานก็คือหมูตัวหนึ่งที่เคยมีชีวิตและพร้อมที่จะ วิ่งชนเรา ถ้าเราทำร้ายเขา เพียงแต่ตอนนี้เขาตายไปแล้วไม่มีชีวิต ไม่ มีเรี่ยวแรงต่อสู้ โกรธก็ได้แต่โกรธอยู่ในใจ กรรมก็เป็นของเรา เมื่อมี กรรมแสดงว่าเราต้องหากุศลมาทดแทน มาใช้คืน
ศิษย์กินเนื้อสัตว์ทุกวัน แต่หากุศลทุกวันไหม ถ้าศิษย์กินทุกวันต่อให้หากุศลคืนเขาได้ทุกวันก็แค่เท่าตัวจะมีกุศลเหลือพอไปเป็นพุทธะไหมกินเจไม่มีกุศลเพียงแต่ไม่สร้างกรรม ฝึกเมตตาจิตของตนเองให้เรานั้นเป็นผู้ที่มีเมตตาสูงขึ้น อันเป็นคุณธรรมที่สมควรจะฝึกฝนอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นตอนนี้สิ่งที่รู้แล้วเราไม่ทำ กลับไปบ้านแล้วเราก็ยังกินเนื้อสัตว์ ครั้งแรกพลาด ครั้งที่สองเขาเรียกว่า เผลอ ครั้งที่สามเรียกว่าตั้งใจ บาปไหม (บาป) คนที่ผิดซ้ำสองซ้ำถามอย่างนี้เป็นพุทธะได้หรือเปล่า เพราะฉะนั้น วันนี้เรามาฟังธรรมะมองคนรอบข้างเขาทำสิ่งใดที่เราควรจะเลียนแบบบ้าง อย่างเช่นเขากินเจใช่หรือเปล่า ไม่ต้องมองว่าเขาพูดจาเสียงดังไม่เกรงใจเราเลย ให้มองแต่สิ่งที่ดี ๆเหมือนหนังสือที่เราดู หนังสือธรรมะควรจะดูไหม (ดู) หนังสือโป๊ๆเปลือยๆ ควรดูไหม (ไม่ควร) เพราะฉะนั้น ต้องระวังตนเอง
เนื้อสัตว์ที่ศิษย์กินเข้าไปทุกชิ้น ก็เป็นเวรกรรม เป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นทุกๆครั้งไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจเขารายล้อมรอบตัวเราพร้อมที่จะดึงทึ้งทำร้ายเราทุกเมื่อ เมื่อเขามีโอกาส อาหารเจกับอาหารเนื้อสัตว์ อะไรอร่อยกว่ากัน (เจ) อย่างนี้กินอาหารเจดีไหม (ดี) กินตลอดชีวิตเลยได้หรือไม่ (ดี)
สิ่งที่ศิษย์ได้ศึกษาอยู่ขณะนี้อาจารย์บอกได้ว่าเป็นสิ่งที่ล้ำค่าที่สุดขออย่าได้นำธรรมะที่ศิษย์รับไปนั้นไปเปรียบเทียบกับสิ่งใด ศิษย์ลองมองดูสิว่าร่างกายหนึ่งร่าง มีดวงจิตหนึ่งดวงใช่ไหม การที่ธรรมลงมาโปรดในโลก ไม่ใช่ว่าตอนนี้จึงจะโปรด แต่โปรดมานานแล้ว โดยที่ศิษย์ไม่รู้ ในครานี้เป็นโอกาสเปิดกว้าง โปรดธรรมะลงสู่ปุถุชน ศิษย์เองเป็นปุถุชน เพราะฉะนั้น โอกาสนี้ควรมิควรที่ศิษย์จะรักษาไว้ (ควร)ถ้าศิษย์บำเพ็ญในยุคสามที่เปิดกว้างนี้ อาจารย์บอกได้เลยว่า คนที่บำเพ็ญนั้นสามารถจะหลุดพ้นได้ อยู่แต่เพียงว่าจะบำเพ็ญได้ทันแค่ไหนเท่านั้น ชีวิตคนมีร้อยปี ถ้าบำเพ็ญวันละ 2 นาที จะทันไหม (ไม่ทัน) วันหนึ่งยี่สิบสี่ชั่วโมง ถ้าทุกเวลาทุกนาที ศิษย์รู้จักมองตนเองแก้ไขตนเองแล้วสร้างกุศลให้มากๆ ตามกำลังที่จะทำได้ การที่ศิษย์ได้รู้ที่ตั้งแห่งจิตนี้จึงสามารถที่จะหลุดพ้นได้ แต่กรรมก็ต้องใช้ให้หมดด้วยชีวิตนี้เกิดมาเราอายุไม่เท่าไร แต่ที่ผ่านมากี่ภพกี่ชาติก็ต้องใช้กรรมที่สะสมมาให้สิ้น ทำอย่างไรจะใช้กรรมหมดล่ะ(สร้างกุศลเร่งบำเพ็ญธรรม)
อาจารย์ถามคำถามง่ายก็จริง แต่อย่าคิดว่าคำตอบนี้ง่าย เพราะว่าแต่ละคำตอบย่อมต้องนำกลับไปปฏิบัติจึงจะได้ผล มีคนคิดว่าถามคำถามอะไรก็ไม่รู้ แต่ศิษย์ควรจะรู้คำตอบนี้ ตอบแล้วต้องทำให้ตลอดชีวิต ถ้าได้แต่ตอบไม่นำกลับไปทำก็ไม่มีค่า ต่อให้ธรรมะล้ำค่ากว่านี้แต่ศิษย์ไม่ได้นำกลับไปปฏิบัติเลย ทุกวันนอนอยู่กับบ้านแล้วก็ออกไปสังสรรค์ ขับรถกลับมาบ้านเหนื่อยขอนอน ที่สุดแล้วชีวิตก็เป็นปุถุชนแล้วจะพูดอะไรถึงพุทธะ ตอนนี้ทุกเวลาทุกนาทีของเรามีค่าไหม เราไม่รู้ว่าเราจะเกิดความท้อถอยวันไหน ชีวิตของเราจะตกอับในวันไหนเรารุ่งเรืองแล้วเราจะลืมตัวหรือเปล่า เราไม่สามารถจะคาดคะเนชีวิตของเราได้เลย บางคนเกิดความกลัวหรือเกิดคาดหวังก็ชอบไปดูหมอดูแต่มนุษย์ก็พูดไว้ได้ดีว่า หมอดูคู่กับอะไร (หมอเดา) ชีวิตของเราจะสำเร็จต้องไปดูหมอดูไหม (ไม่จำเป็น) ชะตาชีวิตของเรานั้นเปลี่ยนได้แม้ว่าชะตาชีวิตของศิษย์จะเป็นเช่นนี้ แต่หากว่าศิษย์รู้จักที่จะแก้นิสัยความเคยชินของตัวเอง ในที่สุดชะตาชีวิตของเราก็จะเปลี่ยน ถ้าหากทุกวันศิษย์ชอบเดินไปในทางที่มีท่อที่เขาขุดไม่เสร็จวันหนึ่งก็ต้องตกท่อแต่ถ้าศิษย์แก้ไขทางเดินให้ราบเรียบ ถึงศิษย์เดินไปอีกสิบหนแม้หมอดูบอกว่าต้องตกท่อตาย แล้วจะตกไหม (ไม่ตก) เพราะฉะนั้น จะแก้ไขวิถีทางชีวิตแห่งปุถุชนของตนให้ดีขึ้นอย่างไร (ไม่สร้างเวรกรรมเพิ่มขึ้น)เช่นนั้น งดเบียดเบียนสัตว์ งดกินเนื้อสัตว์ดีไหม
พระอาจารย์จี้กง
พุทธสถานผูถี อ.เมือง จ.พิษณุโลก
8 พฤศจิกายน 2541