อริยะเมิ่งจื่อ
กายวาจาใจสร้างกรรมได้ และก็สร้างกุศลได้ ด้วยเหตุนี้ ผู้บำเพ็ญต้องระมัดระวังอย่างลับ ๆ ก็ได้แก่การระมัดระวังคำพูด โดยเฉพาะต้องเอาใจใส่ในขณะสนทนา พูดสิ่งที่ดีให้มาก ภาษาให้ดี อย่าพูดร้ายภาษาหยาบ ยิ่งสร้างเรื่องเท็จ ไม่มีก็พูดให้มีในคัมภีร์ว่า “ปากคือประตูเคราะห์ ใจคิดปากพูดกายก็รับโทษทัณฑ์” ปากพล่อยลิ้นไว คือลิ้นทำร้ายคน ผู้ทำร้ายเขา ถ้าเร็วกรรมก็สนองตน รอจนกว่าหมดบุญเสพสุขจนสิ้น เคราะห์ก็ตกทอดถึงลูกหลานลูกหลานก็ได้รับทุกขเวทนา ท่านขงจื่อกล่าวว่า “ความวุ่นวายเกิดขึ้น ล้วนมาจากคำพูด” หมายความว่า ความวุ่นวายทุกข์ร้อนทั้งหลาย ก็เนื่องจากผู้บริหารหามาเอง สมมติว่าประเทศมีคำสั่งจะแต่งตั้งอธิบดี ขณที่ยังไม่ได้กำหนดแน่นอน “ผู้ถ่ายทอดคำสั่ง” จะต้องไม่แพร่งพราย ก็เหมือนกับบริษัทหนึ่งจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ชนิดหนึ่ง ซึ่งมองเห็นว่าอนาคตดี ขณะที่ยังไม่ได้ทำการผลิตหรือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่เรียบร้อย “ความลับการค้า” ไม่อาจแพร่งพรายสู่ข้างนอกได้ เพื่อว่ายังไม่ทันวางตลาด ก็ถูกเขาแทรกแซงเสียแล้วจะเสียแรงเปล่า
ด้วยเหตุนี้ เมื่องานยังไม่เสร็จต้องปิดเป็น “ความลับ” “สงบปาก” ผู้ปฏิบัติต้องผนึกทั้งกายวาจาใจเป็นหนึ่ง จึงจะเป็น “ความลับ” ก็คือไม่แพร่งให้ใครรู้ ก็เหมือนการต้มหน่อไม้จะต้มหน่อไม้ให้อร่อย ต้องไม่เปิดฝาหม้อบ่อย ๆ เช่นเดียวกับหุงข้าว ต้องไม่เปิดฝาหม้อ มิฉะนั้น ข้าวหม้อนั้นคงกินไม่ได้สำหรับผู้บำเพ็ญที่จะปิดความลับทั้งสาม นอกจากตนต้องทำสมาธิมือทำลัญจกร ปากภาวนาคาถา ที่สำคัญต้องปฏิบัติอย่างระมัดระวัง อย่าส่งเดช อย่าพูดเพ้อเจ้อ ธรรมอยู่กับชีวิตประจำวัน
การทำฌานสมาธิ การบำเพ็ญกุศลเป็นบทเรียนส่วนหนึ่ง ก็เป็นการต่อเนื่องของชีวิตชนิดหนึ่ง ชาวโลกหากทำสิ่งเลวร้ายตอนกลางวัน แล้วจะมานั่งสมาธิในตอนกลางคืน ก็ยากที่จะสงบลงได้ ชีวิตมนุษย์ คำพูดหนึ่งสำคัญหนึ่งเพราะฉะนั้นจึงพูดว่า “เคราะห์ออกจากปาก พูดมากก็เสียหายมาก” ดังนั้นคำพูดมากก็จะผิดมาก พูดมากก็เกิดความโกรธแค้นได้ง่าย ฉะนั้น คำพูดมากสู้คำพูดน้อยไม่ได้ คำพูดน้อยสู้คำพูดดีไม่ได้ ในคัมภีร์อี้จิงว่า “บัณฑิตอยู่กับบ้านพูดจาออกมาดี ก็จะได้รับการต้อนรับไกลนับพันลี้ ยิ่งกว่าอยู่ใกล้ ๆ อีก อยู่ในบ้าน พูดจาไม่ดี ก็จะถูกต่อต้านจากภายนอกไกลนับพันลี้ ยิ่งกว่าอยู่ใกล้ ๆ อีก คำพูดออกจากกาย ชาวบ้านรับรู้ ปฏิบัติอยู่ใกล้ แต่เห็นออกไปไกล ดังนั้นวาจาก็ดีการปฏิบัติก็ดี บัณฑิตเป็นศูนย์กลาง เมื่อแพร่จากศูนย์กลาง จึงเป็นหลักของเกียรติยศหรืออัปยศได้ เพราะฉะนั้น คำพูดหรือการกระทำของบัณฑิตจึงสะเทือนไปทั้งฟ้าดิน จะไม่ระมัดระวังหรือ” ไม่ว่าจะเป็นบริษัท หรือสถานธรรมหรือในครอบครัว มีการแสดงอะไรออกมาวาจาการกระทำของแต่ละคน ก็ให้ผลกระทบอย่างมากมาย เพียงประโยคเดียวก็เปลี่ยนแปลงคนได้และก็สามารถทำลายคนได้ คำพูดหนึ่งทำให้คนเกิดความพอใจ เกิดความหวัง คำ ๆหนึ่งอาจทำให้คนขาดความเชื่อมั่นสูญสิ้นพลังวิริยะอุตสาหะได้ เพราะเหตุนี้จะไม่ระมัดระวังหรือ
ท่านเหล่าจื่อว่า “พูดมากเนื้อหาน้อย ไม่สู้รักษาความเป็นกลางไว้” ถ้าไม่สามารถสงบปากก็ทำลายบุญกุศลและก่อกรรมได้ง่าย ถึงแม้จะปฏิบัติดีถือศีลเจก็ไม่ช่วยได้ เพราะฉะนั้นจึงพูดว่า “ไม่ควรพูดแล้วพูดคือพูดมาก พูดไม่ได้แล้วพูดคือพูดส่งเดช พูดส่งเดชคือหาภัยใส่ตัว” ด้วยเหตุนี้ การบำเพ็ญธรรมก็คือการดูแลใจที่เกิดความคิดขึ้นให้ทันการ รักษาความคิดที่ดี การจัดการเรื่องควรระมัดระวัง เป็นคนต้องสงบนิ่ง ไม่อารมณ์ร้อนพูดมาก