“ .....อื๊อเอ็ก”
หฤทัยสูตร “พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เมื่อทรงได้บำเพ็ญปัญญาบารมีจนบรรลุถึงโลกุตรธรรมอันลึกซึ้งแล้ว พิจารณาเห็นขันธ์ห้า เป็นความว่างโปรดทุกข์ทั้งปวง”
โพธิสัตว์พิจารณาเห็นขันธ์ห้าว่างเปล่า การปฏิบัติประจักษ์แน่ชัดคือเอารูปพิจารณาให้ว่าง พิสูจน์ให้เข้าถึงว่าธรรมทั้งหลายเป็นความว่าง เป็นตถาตาไม่ข้องไม่ขัด โดยที่ขันธ์ห้าของเวไนยสัตว์ภูมินั้น เป็นภูมิแห่งความเกิดความตาย ใจที่คิดถึงสำคัญผิดว่าเป็นสิ่งแท้จริง จึงหลงละโมบ เพราะฉะนั้นขันธ์ห้าจึงไม่ว่าง ดังนั้นจึงต้องพิจารณาเห็นรูปเป็นความว่าง เพื่อเข้าสู่ความว่าง จึงสามารถเปลี่ยนจากหลงมาสู่การบรรลุรู้ จากปุถุชนเข้าสูอริยชน
บทถอดความของหฤทัยสูตร ข้าพเจ้าเคยเห็นมาหลายเล่มแล้ว กับความลึกซึ้งในความหมาย เห็นชัดแจ้งจากภายในใจ
พระอวโลกิเตศวรในหฤทัยสูตร ก็คือพระโพธิสัตว์กวนอิม ธรรมบรรยายของปรัชญาปารมิตา อาศัยแสงแห่งปัญญาเพื่อเข้าสู่สภาวะแห่งนิพพาน การเอาแบบอย่าง การได้พบ “วิญญาณ” “จิตเดิม” ซึ่งเป็นหน้าตาแท้จริง ไม่เกิดไม่ดับไม่เปรอะเปื้อน ไม่เพิ่มไม่ลด เป็นองค์ชีวิตที่สว่างไสว เป็นองค์แท้ที่มีอยู่ เพราะฉะนั้นมันจึงไม่เจ็บป่วย ไม่มีการตาย นอกจากมันแล้ว ทุกอย่างล้วนเป็น “อวิชชา” ก็เหมือนการเจ็บป่วย การตายในโลกมนุษย์ล้วนอยู่ใน “อวิชชา”
“อวิชชา” แท้ที่จริงแล้วเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ มันเป็นสภาวะที่ไม่มีความสว่างอย่างที่สุด ถ้าหากสำคัญผิดว่ามันมีองค์วิสัยที่ดำมืดที่สุดแล้วละก็เป็นบ่อเกิดของความหลง
“อวิชชา” ถ้าถือเป็นวิสัยที่มีพลังงานสะสมอยู่ ถ้าเช่นนี้ก็คงต้องสิ้นเปลืองแรงงานพอสมควรจึงจะสามารถดับสลายมันได้ ดังนั้น ดีที่ “อวิชชา” เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ เพราะฉะนั้นจึงต้องเอาความมั่นคงของ “วิญญาณ” ไประลึกรู้ “อวิชชา” ก็จะดับสลายไปเอง สัทธิความสุขที่ยอดเยี่ยมเช่นนี้ ก็คือวิญญาณของศาสนาที่มีอยู่
พื้นฐานของพุทธศาสนา คือการแยกส่วนของ “วิญญาณ” กับ “กายสังขาร” “วิญญาณ” เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ส่วน “กายสังขาร” เป็นสิ่งที่ยึดถือไม่ได้ มันจะเน่าเปื่อยเป็นดิน กายสังขารตายได้ แต่เราก็มักจะยึดติดอยู่กับ “กายสังขาร” และหลงรักทนุถนอมเป็นอย่างยิ่ง กลัวมันจะหนาว หิว บาดเจ็บ โดยแท้จริงแล้วมันพึ่งไม่ได้เลย
การศึกษาด้านจิตวิทยาในยุคนี้ก็ยืนยันให้เห็นชัดว่า มนุษย์ชั่วระยะเวลาไม่กี่หมื่นปีมานี้ ได้มีการเกิด ๆ ตาย ๆประมาณ 30 ถึง 40 ครั้ง แต่สิ่งที่คงมีอยู่ของคนก็คือ “วิญญาณ” ส่วน “กายสังขาร” เป็นสิ่งเกิด ๆ ดับ ๆ เมื่อ “วิญญาณ” เข้าสู่ “กายสังขาร” ก็จะแสดงลักษณะของชีวิตให้ปรากฏ เมื่อ “กายสังขาร” ดับสลายแล้ว “วิญญาณ” ก็จากไป จากไปเกิดใหม่
มนุษย์คือชีวิตที่ทำสำเร็จได้ด้วย “ใจ” ไม่ใช่ “วัตถุธาตุ” เป็นผู้สร้างชีวิต “วัตถุธาตุ” ถูกยอมรับเป็นรูปร่างลักษณะ กับมีวิสัยที่เฉพาะ แต่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่มี เป็นความว่าง เพราะฉะนั้นที่ “หฤทัยสูตร” กล่าวว่า “เพ่งพิจารณารูปภูมิ” อายตนะภายนอก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและธรรมารมณ์ของวัตถุธาตุ กับอายตนะภายในซึ่งเป็นอวัยวะรับรู้ความรู้สึกแต่ละชนิดเช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ สิ่งเหล่านี้ล้วนไม่มีอยู่ แต่เพราะ “ใจ” ที่เกิดความคิดเชื่อของปัจเจกชนหรือ “ใจ” ที่ครอบงำมนุษยชาติ ให้คิดเชื่อเป็นตัวก่อให้เกิดขึ้น ทำให้เรารู้สึกว่ามันมีอยู่พลังความคิดเชื่อเช่นนี้ จะมีประโยชน์หรือทำร้าย “ใจ” ของคนกันแน่
เมื่อไม่มีวัตถุธาตุ ก็ไม่มีการมาและไม่มีการไป สิ่งนี้เป็นสัจธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลงนับพัน ๆ ปีมาแล้ว นั่นก็คือสิ่งที่พุทธศาสนากล่าวไว้ว่า “รูปคือ ความว่าง” “ความว่างคือรูป” 4 คำนี้เป็นแก่นของพุทธมหายาน
พุทธศาสน์จะกล่าวทฤษฏีจิตนิยม เช่นคำว่า “ธรรมทั้งหลาย จิตเป็นผู้สร้าง” ก็จะเห็นชัดแจ้งถึงทฤษฏีจิตนิยม ก็คือการปฏิเสธวัตถุธาตุที่มีต่อความสำคัญของเวไนย์ ตลอดจนการปฏิเสธการมีอยู่ของวัตถุธาตุ อันเป็นมูลเหตุสำคัญ
นักจิตวิทยาเคยทดลอง โดยเอาของให้นักโทษกินแล้วหลอกว่าเป็นพิษกินแล้วก็จะต้องตาย คนที่อยู่รอบข้างก็พูดแบบเดียวกัน เมื่อนักโทษกินของนั้นแล้วในที่สุดก็เกิดตายจริง ๆ อันที่จริงแล้วของที่ให้กินไม่มียาพิษอยู่เลย เป็นเพียงวิตามินที่มันทำให้นักโทษตายนั้นเกิดจากพลังความคิดเชื่อว่าเป็นยาพิษ อันเป็นผลทาง “ใจ” จากหลักฐานทางการแพทย์ได้ประกาศผลการวิจัยออกมาว่า ขณะที่คนมีอาการกลัว ร่างกายจะขับสารพิษออกมา สารพิษที่ขับออกมาจากลมหายใจ สามารถนำมาเบื่อหนูให้ตายได้ ทางการแทพย์ปัจจุบันก็ได้จัดตั้งสาขากายใจวิทยาขึ้น เพื่อค้นคว้า “อารมณ์ของใจ” กับ “ร่างกาย” มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างไรต่อการเจ็บป่วยในสหรัฐอเมริกา นางเยติ ได้ใช้วิธีการแก้ไขอารมณ์ของใจเพื่อรักษาการเจ็บป่วยปรากฏว่าในระยะเวลาพันปีมานี้ สามารถรักษาผู้เจ็บป่วยได้จำนวนมาก จึงได้จัดตั้งแผนก “คริสเตียนวิทยา” เพื่อแก้ไขสภาวะใจ สามารถที่จะรักษาการเจ็บป่วย ขณะนี้ก็มีการขยายสาขามีลูกศิษย์มากถึงแสนคน ด้วยเหตุนี้ “ทฤษฏีจิตนิยม” ไม่ว่าจะเป็นหลักธรรมล้วนเป็นสัจธรรม
ทำอย่างไรจึงสามารถแก้ปัญหา “ใจที่หยุดชะงัก” ได้ ขณะที่ใจของเราพัวพันกับเรื่องราวต่ง ๆ ใจก็จะครุ่นคิดอยู่ที่ตรงนั้น นี่เพราะภายในใจยอมรับความรู้สึกที่เห็น (สัญญลักษณ์ของโลก) เรื่องราวต่าง ๆ ล้วนเป็นของจริง ก่อให้เกิดการจับยึดขึ้น ดังนั้น “ใจ” ที่จับยึดจึงถูกผูกมัด ที่จริงแล้วอวัยวะที่รับความรู้สึก (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ที่เห็นได้ในโลกนี้ สิ่งต่าง ๆ มิใช่มีอยู่จริง มันเป็นภาพมายา หากสามารถรู้ได้ว่ามันเป็นภาพมายาแล้ว ก็จะไม่จับยึดอีกต่อไป “ใจ” ที่ไม่จับยึดก็จะไม่ถูกพันผูก เช่นนี้ “ใจ” ก็สามารถฟื้นคืนสู่ความอิสระเสรีสบายเหมือนเดิม
ฟ้าดินกำเนิดมาแล้วกี่หมื่นปี กล่าวกันว่าวิญญาณมีถึง 9200 ล้านดวง ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ต่างก็ลงมาปฏิสนธิ แต่กายสังขารอยู่ไม่เกินร้อยปี ก็ดับสลายแล้ว วิญญาณก็จากไปปฏิสนธิใหม่ คนสามารถเห็นได้ชัดเจนถึงอายุขัยอันสั้นของสังขาร ปล่อยตามกรรมสัมพันธ์ สามารถหลุดพ้น เรื่องทุกอย่างรู้สึกว่าเป็นเรื่งอเล็ก ๆ ไม่มีค่าควรแก่การแย่งชิง เช่นนี้ “ใจ” ของเธอก็เป็นอิสระแล้ว
ในนิพพานสูตรว่า “วิญญาณไม่มีแตกดับ คงอยู่นิรันดร์ ยากที่จะแตกสลายกายเนื้อมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย วิญญาณไม่ตายไม่เจ็บ เป็นวัชรกาย เป็นกายที่สะอาด” เราควรที่จะเข้าใจว่านี่คือตัวตนที่แท้จริงของวิญญาณ จึงจะเกิดธรรมปิติจากภายในใจ ยินดีในฌาน ในส่วนลึก ๆ ของวิญญาณเกิดความปิติยินดี จึงไม่คิดแสวงหาความสุขจากอวัยวะ 5 ที่รับความรู้สึก เพราะมันเหมือนคน ๆ หนึ่ง ที่โง่เขลาที่ตามจับเงาซึ่งไม่อาจได้รับความสุขที่แท้จริงได้ตลอดกาล
ความสุขของอวัยวะทั้ง 5 ก็คือการเสพความสุขเหมือนการเข้าไปในภัตตาคารรับประทานอาหารดี ๆดูหญิงสาว แต่งกายดี ๆ แสวงหาความรื่นรมย์ให้แก่กายเนื้อในที่สุดเงินขาดมือ ทุกวันกลัดกลุ้มในการหาเงินใจคอว้าวุ่นเพิ่มพูนการเจ็บป่วยทางใจคดีความนักโทษเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดสังคมที่ตกต่ำ หากปล่อยปะละเลย แสวงหาแต่ความสุขทางกายแล้ว หันมาใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ใช้สมองกำลังกาย ทำงานด้วยใจให้ใจได้รับความพอใจ จึงจะเป็นความสุขที่แท้จริง
สมมติว่า การทำฌานสมาธิ สามารถทำให้เราเข้าสู่จักรวาลได้ รวมเป็นหนึ่งเดียวกับฟ้าดิน ลืมตัวไปเลยทีเดียว จนกระทั่งลุถึงกายใจกลมกลืนกัน ตลอดจนถึงการพัฒนาการศักยภาพ ทำให้วิญญาณเข้าสู่การหยั่งรู้ หากสามารถทำสมาธิได้วันละ 30 นาที นาน ๆ ไปก็จะประจักษ์แจ้งในพุทธสูตรมีกล่าวไว้ว่า “เวไนยสัตว์ล้วนมีพุทธจิต” จิตของคนกับจิตของพุทธะไม่ต่างกัน ล้วนสามารถสำเร็จเป็นพุทธะได้ เพราะผู้มีจิตคิดบำเพ็ญควรจะมุ่งมั่นยิ่งขึ้น ก้าวไปสู่หนทางที่สำเร็จพุทธะ
อันที่จริงแล้ว “การเชื่อมั่นในตน” ก็มีความสำคัญยิ่ง ถ้าเชื่อมั่นตนเองเหมาะกับการต่างประเทศ เขาก็อาจเป็นนักการฑูตที่สามารถได้ กลับกัน แม้พนักงานต้อนรับของบริษัทประกันภัยก็ยังไม่กล้าไปทำ ถ้าเชื่อมั่นว่าตนมีพรสวรรค์เรื่องภาษา เขาก็จะเป็นนักภาษาศาสตร์ที่ดีได้ กลับกัน ถ้าไม่เข้าใจในภาษาได้ดี ถ้าคิดว่าตนเองเป็นคนต่ำภึงกับพูดไม่ได้ว่าเป็นคนเล็ก ๆ แล้วตลอดชีวิตก็เป็นคนรับใช้ กลับกัน ก็สามารถสำเร็จเป็นคนยิ่งใหญ่ได้ การเชื่อมั่นตนเหมือนกับคบเพลิงที่ส่องสว่างชีวิตของตนเอง มุ่งไปสู่โลกข้างหน้าที่ยังไม่รู้ ใจที่เชื่อมั่นตนสามารถปลุกศักยภาพที่ซ่อนเร้นได้ เพราะฉะนั้นใจที่เชื่อมั่นก็สามารถที่จะสลายความสงสัย และความกลัวได้ และนำตนสู่หนทางความสำเร็จ ขณะที่อยู่ในทางตัน ตนต้องมีปัญญาไปเพ่งมองตนว่ามีหนทางที่จะเดินไปหรือไม่ ความเข้าใจผิดของคนก็คือไม่ประจักษ์แจ้งในสัจธรรม เมื่อใจคนถูก “อวิชชา” “ทุกข์กังวล” “เจ็บปวด” บดบัง ชีวิตก็เหมือนตกอยู่ท่ามกลางความมืดมีอันตรายตลอดเวลา เมื่อเป็นเช่นนี้ ความอับโชคที่ไม่มีอยู่เป็นเพราะวิญญาณเมาหลงเหมือนนรกไปด้วยวัชพืช เข้าเกาะกุม พันรัดเจ็บปวด ทุกข์กังวล เพราะฉะนั้น ปัญญาปรมัตถ์แห่งพุทธศาสนา (อนุตตรสัมมาสัมโพธิ) ช่วยคลายความหลงเมาของคนได้ การทำฌานสมาธิ ทำให้วิญญาณของคนกับรัศมีแห่งเทพพุทธ ทะลุถึงกันได้ สัจธรรมก็ลุถึงกันได้ ช่วยขจัดใจที่สกปรก ทำให้จิตประภัสสรในที่สุดก็จะพบว่าขันธ์ทั้งห้าว่างเปล่า ก็จะเข้าใจในอายตนะภายในทั้งหก อายตนะภายนอกทั้งหก และวิญญาณทั้งหกไม่มีสักอย่างที่ไม่ว่างเปล่า