พระธรรมาจารย์เซ็นเต้าจี่
ตรรกวิทยาขงจื้อ: สงบ ก่อนภายหลังจึงมีสุข มีสุขแล้วภายหลังจึงได้ สองประโยคนี้เหมาะสมกับการบำเพ็ญธรรม แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ขอเติมอีกประโยคหนึ่งว่า ได้ส่วนลึก แล้วภายหลังจึงรู้ว่า ไม่ได้
สงบ หมายเอาที่อารมณ์ใจ ใจไม่เกิดความคิด อารมณ์ก็ไม่ติดอยู่ที่ใจก็คือใจไม่ส่อส่ายไปข้างนอก ที่กล่าวว่า สงบ คือใจเหมือนน้ำนิ่ง น้ำนิ่งย่อมสงบ ถ้าคนมีใจสงบไม่เคลื่อนไหวเมื่อใจได้หลักธรรมก็แจ้งไปเอง เมื่อเข้าถึงสภาวะเช่นนี้ได้ ก็ย่อมมี สุขไม่ครุ่นคิด เมื่อไม่ครุ่นคิดสมองก็ใส เมื่อใจมีสมาธิก็จะประเทืองปัญญา อันความทุกข์กังวลทั้งหลาย เพียง สงบ ก็สุขได้เมื่อเกิดความ สุข หลักธรรมปัญญาโลดแล่น มักพูดกันว่า “ใจแจ่มใส” ไม่มีอย่างอื่น ไม่มีหู ใจก็แจ่มใส ปัญญาก็มาเอง เมื่อมีการเกื้อหนุนปัญญา ก็จะมีได้(ได้วิถีนั้น ได้ช่องทาง)
ใจสงบ จิตก็จะปรากฏมาเอง พื้นฐานของจิตคือสมาธิ แต่ว่าถูกอายตนะปกคลุม ดังนั้นจิตจึงไม่ปรากฏ ถ้าทำให้ใจไม่เกิดความคิดขึ้นอายตนะก็จะใส จิตก็จะเผยปรากฏ
อะไรคือ ได้ส่วนลึก ก็หมายถึงเข้าใจความหมายของหนังสืออย่างลึกซึ้ง ก้าวไปอีกขั้น ก็รู้ว่า ได้ ส่วนไขกระดูก ที่ว่า ได้ส่วนลึก นั้น สมมติว่าได้เงิน เงินก็อยู่ในมือของเธอ ก็เป็นการได้ แล้วมิใช่หรือ แต่เงินเป็นของเธอตลอดหรือไม่ พิจารณาให้ลึกเข้าไปอีกขั้นหนึ่ง ตั้งแต่ต้นจนสุดท้ายก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นคำว่า “ไม่ได้อะไรเลย” คือการได้ที่แท้จริง มีก็เหมือนไม่มี ไม่มีก็เหมือนมี เธอคิดดูซิว่า ที่สุดแล้วได้ห่รือเปล่า?
ตอนนี้มาอธิบายความหมายของ “ไม่ได้” การได้ไม่สามารถจะยอมรับว่าเป็นหลักธรรมของการได้ส่วนลึก ก็เพราะเหตุว่าเมื่อมีใจที่ว่าได้ ก็เพราะมีอุปทานยึดติดอยู่ จึงทำให้มีใจที่แบ่งแยก ดังนั้นจึงไม่สามารถจะ “ว่าง” ได้ “ไม่ได้อะไรเลย” ก็คือการว่างทั้งหมด อะไรเรียกว่า “ความว่าง” ก็คือ “ไม่ได้อะไรเลย”
ทำไมจึงต้องการ “ความว่าง” เพราะเหตุว่าไม่ว่าง คือใจอยู่ภายในใจไม่ค้างอยู่กับวัตถุ จึงสามารถมีสุข เป็นธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ การบำเพ็ญจึงได้ ก็ต้องก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง คือรู้จักว่าไม่ได้ ก็คือ “ความว่าง” แต่ว่าให้พิจารณาความว่างลึกลงไปอีกขั้นหนึ่ง คือมีอุปทานอยู่กับความว่าง เรียกว่ายึดติดความว่าง จะต้องไม่ให้ความว่างวนเวียนอยู่ในใจ จึงจะใช่การตรัสรู้ที่แท้จริง