ตั้งชิวกิ้ม
คัมภีร์อี้จิงว่า “บ้านที่สั่งสมความดี ย่อมมีงานมงคลล้น” นี่คือการปลูกเหตุความดี การได้รับผลตอบสนองดี ก็เป็นการชักจูงคนให้มีพลังใจ พูดแต่วาจาดี ทำงานดี ประพฤติดี แต่การจะสั่งสมความดีอย่างไรและการละทิ้งความชั่วอย่างไร แต่ในสังคมทุกวันนี้เข้าใจว่าไม่ฆ่าคนไม่แย่งชิง ไม่ขโมย ก็พอแล้ว ไม่ต้องไปทำอะไรอีก อันที่จริงแต่ละคนขณะที่มีการเคลื่อนไหว หากไม่ระมัดระวังก็สามารถทำผิดได้ ก็จะขอยกตัวอย่างที่ชาวโลกมักล่วงละเมิดความผิดได้ง่ายมาให้ทราบ
1. กายกรรมไม่ถูกต้อง การปล่อยเนื้อปล่อยตัว เที่ยวเตร่ไปวันๆฝ่าฝืนคำสั่งสอนพ่อแม่ครูอาจารย์ เที่ยวเล่นตามสถานเริงกามารมณ์ดื่มสุราเคล้านารี ลักขโมยปล้นจี้ เข่นฆ่าเอาชีวิต เป็นต้น
2. วจีกรรมไม่ตรง โอ้อวดพูดฟั่นเฝือ พูดโกหก หลอกลวงพูดร้าย ลิ้นสองแฉก เป็นต้น
3. มโนกรรมไม่ถูกต้อง ทรนงหยิ่งยะโส คิดว่าตนเองถูกต้องมีเรื่องก็เที่ยวต่อว่า ไม่ฟังคำทักท้วงตักเตือน ละโมภไม่รู้จักพอ อาฆาตโกรธอิจฉา โง่เขลาหลงไหล เป็นต้น
4. มีตำแหน่งไม่ถูกต้อง ผู้มีตำแหน่งหน้าที่สูง ไม่ศึกษาพิจารณาให้ถี่ถ้วน มักทำให้ถูกกล่าวหา ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งบริหารแผ่นดินทำแผนการณ์ผิดพลาดทำให้ประชาชนสูญเสียชีวิตทรัพย์สินพินาศเป็นต้น
5. ใช้อำนาจทำร้ายคน มีบางคนมีอำนาจมาก ใช้อิทธิพลทำร้ายคน โกงเอาทรัพย์สินโดยใช้ช่องโหว่ของกฎหมาย ล่วงละเมิดสิทธิบุคคลล่วงศีลธรรม โดยใช้อำนาจทำร้ายคนทั้งทางกาย วาจา และใจ อย่างผิดๆทำให้กระทบต่อสังคมส่วนรวมในทางลบ ทำให้ภาพสังคมเลวร้ายลง จนสังคมเสื่อมทราม
ชีวิตไม่ควรมีอาการหมดกำลังใจ เข้าใจว่าการไม่ทำเรื่องชั่วก็จะสบายใจ ต้องมีใจมุ่งมั่นที่จะสั่งสมบุญกุศล แต่อะไรคือบุญกุศล และทำอะไรที่ไม่นับว่าเป็นบุญกุศล ขอพูดย่อๆ ง่ายๆ ดังนี้
1. ประจักษ์แจ้งคุณธรรม บุญกุศลไม่ถอยห่างจากจิตใจ การประจักษ์แจ้งคุณธรรมคือรากฐานการอบรมจิต เป็นพื้นฐานการปลูกฝั่งปฏิญญายิ่งใหญ่ จุดสำคัญคือ
(1) ตนสงบต้นมูลใส เดิมทีพื้นจิตของคนนั้นใสสงบ แต่คนส่วนใหญ่ ก็มักถูกอารมณ์เจ็ด ใครอยากหก ชักจูงง่าย หลงจมอยู่ในเกียรติยศชื่อเสียง หารู้ไม่ว่าเกียรติยศชื่อเสียงนั้นเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งเพราะว่าเบื้องฟ้านั้นมอบหน้าที่การช่วยเหลือคนจนมากับคนที่ร่ำรวย เอาผู้ต่ำต้อยมอบหมายให้คนมั่งมีคอยดูแล ถ้าหากคนรวยมัวแต่เห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ อวดแต่ความมั่งมี โดยไม่เอื้ออาทรต่อเผ่าพันธุ์มวลชนพฤติกรรมการกระทำไม่สมความเป็นคน ดังนั้น ไม่ว่าใครก็ตามไม่ควรพะวงอยู่กับชื่อเสียง จะต้องยึดถือธรรมห้า ได้แก่ กรุณา ซื่อสัตย์ จริยาปัญญา และสัจจะ ทั้งยังต้องมีศีกห้า คือ ไม่ฆ่า ไม่ขโมย ไม่ผิดประเวณีไม่โกหก และไม่ดื่มสุรา ใจต้องไม่โลภ ก็จะไม่มีความกังวล ความคิดก็จะสงบใส ธรรมกิจก็จะสูงส่ง
(2) จิตใจใสเรียบ จิตใจของคนควรเหมือนคุณสมบิตของน้ำที่ไหลลงที่ต่ำเสมอ (อ่อนน้อม) รองรับสรรพสุใจใสเรึชื่อเสัคนน๊พัืทธึ้อักด่่ง (ให้อภัยรับได้)ชะล้างสกปรก (สดใส) ชุ่มชื่นสรรพสิ่ง (เอื้ออาทร) ก็คือการมีใจที่ไม่แบ่งแยกกับคนทั้งหลาย เรื่องราว สิ่งของ ปฏิบัติต่อเขาอย่างเสมอภาค มองดูเขาเหมือนลูก ไม่กล่าวโทษ ทวงบุญคุณ เคียดแค้น ถ้าหากคนอื่นเขาใส่ร้าย ทำอัปยศอดสูก็ไม่ถือสา ต้องทำเหมือนไม่ได้ยิน ไม่ได้เกิดขึ้นโดยไม่ติดยึดค้างคาใจ
(3) ไหวนิ่งสบายใจ ชีวิตต้องเผชิญ ทั้งสูงและต่ำ ทั้งราบเรียบและอุปสรรค์ ที่สำคัญคือ เวลาสำเร็จไม่ลืมความเหนื่อยยาก จึงต้องอ่อนน้อมเอาไว้ เวลาล้มเหลวก็ไม่คอพับคออ่อนหมดกำลังใจ ต้องลุกขึ้นต่อสู้ใหม่ เมื่อถึงจุดสำเร็จก็ไม่หยิ่งยะโส เวลาล้มเหลวก็ไม่ไทษสภาวะสิ่งเหล่านี้พูดจาง่ายแต่ทำยาก ทั้งนี้เพราะว่าคนส่วนใหญ่จิตใจแข็ง จะปรับสยบใจได้อย่างไร ก็อาจจะใช้กลยุทธ์ของการสวดมนต์ ที่สงบนิ่งกล่อมเกลา ให้ความสงบกล่อมเกลาจิต เวลาเคลื่อนไหวก็คือการช่วยเหลือคนอื่น
2. เจ็ดรัตนทาน คนส่วนใหญ่คิดว่าการให้ทานคือการสูญเสียเงินทอง สิ่งของ อันที่จริงแล้วเจ็ดรัตนะบนกาย ล้วนใช้เป็นท่านได้ เช่นนัยน์ตาไม่โลภดูแต่ของสวยงาม (รูปรัตนทาน)หูไม่โลภฟังเสียงอ่อนหวาน(เสียงรัตนทาน) จมูกไม่โลภดมของหอม (กลิ่นรัตนทาน) ลิ้นไม่โลกชิมรสปราณีต (รสรัตนทาน) กายไม่โลภใส่แต่เสื้อผ้าดี (สัมผัสรัตนทาน)ใจไม่โลภชื่อลาภคุณความรัก (ธรรมรัตนทาน) จิตใจไม่หลงใคร่ความสุขในโลก(พุทธรัตนทาน) หากสามารถให้เจ็ดรัตนท่านได้ ความคิดก็จะหวนคืนสู่ความสงบได้สบาย กุศลเหนือกว่าเงินทอง หรือสิ่งของที่เป็นทานเสียอีก
3. รับผิดชอบสุดหน้าที่
(1) อยู่ในบ้าน อันดับแรกคือกตัญญู กตัญญูนั้นคือเมตตาคล้อยตามคือไม่หลักการไม่ฝืนใจ จะกตัญญูอย่างไร ในกตัญญูสูตรว่า"ร่างกาย เส้นผม ผิวหนัง รับจากพ่อแม่ อย่าให้บาดเจ็บ เป็นการเริ่มต้นของกตัญญ ตั้งใจปฏิบัติธรรมให้ชื่อก้องไปภายหน้า คือสุดท้ายของกตัญญูผู้ที่กตัญญูจะเคารพผู้สูงกว่า จะอภัยอาทรผู้ต่ำกว่า อยู่ในบ้านพูดจาสร้างสรรค์ อยู่นอกบ้านต้องปรองดอง โดยเฉพาะให้ความสำคัญกับการอบรมสั่งสอนบุตร เริ่มด้วยคุณธรรม ให้บุตรมีจริยธรรม มัธยัสถ์ ก็จะสามารถทำงานใหญ่ได้ สามารถปกครองครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้น
(2) ในการทำงาน สำคัญอันดับแรกต้องมีความอดทนซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน คือ มุ่งมานะก้าวหน้า ซื่อสัตย์สุจริต คือ ไม่เห็นแก่ได้ ผู้ทำสุดหน้าที่ ซื่อตรงทำงาน ไม่คดโกง ไม่เพียงแต่ขยันเช้าเย็นแต่ก้าวหน้าทุกวัน เพิ่มประโยชน์ต่อความปราณีต ขยันทำจนสมบูรณ์นี้คือสังคมที่ก้าวหน้า เป็นหลักการรุ่งเรือง
4. เผยแพร่ปัญญา ในสังคมย่อมมีดีชั่ว เขัาใจผิด โง่เขลา ที่วิจารณ์และแนวคิดซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ การวิจารณ์ความสามารถอาจถูกใส่ร้ายโดยไม่รู้ตัวได้ง่าย ตัวอย่างเช่น พวกอาจารย์เข้าทรง โดยแบบอย่างความงมงายมาหลอกลวงความเชื่อมั่นของตน พวกที่มุ่งร้ายเอายาพิษ (ยาบ้า) มามอมเมาคนให้ตกต่ำ เหล่านี้เป็นต้น ล้วนต้องอาศัยปัญญามาทำลายความโง่เขลาอวิชชา ความมืด ด้วยเหตุนี้ต้องเอาความรู้มาเป็นหลักในการพิจารณางาน การขจัดแนวคิดที่เอนเอียง ต้องเอาปัญญามากล่อมเกลาพวกหลงงมงาย ชักจูงให้เดินสู่ความสว่าง ยิ่งสังคมปัจจบันที่เปลี่ยนแปลงไป สับสนวุ่นวายเช่นนี้ ยิ่งสำคัญมาก
5. อุทิศด้วยความรัก ถือเป็นมหาเมตตากับผู้ไม่มีความสัมพันธ์กรุณาต่อส่วนรวม ยิ่งกับคนที่อยู่รอบข้างต้องเห็นเหมือนคนในบ้านตนผู้มีอายุก็ให้เห็นเป็นพ่อแม่ ผู้มีอายุเยาว์ก็ให้เห็นเป็นลูกหลาน คนหนุ่มสาวก็เห็นเหมือนพี่น้อง รู้จักพอรักถนอมบุญ รู้จักขอบคุณ ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น เมื่อพบผู้กำพร้า ต้องรู้สึกสงสารรีบยื่นมือช่วยเหลือ กับคนจน คนพิการ รีบให้ส่งของช่วยเหลือ กับพวกน่าสงสารโรคซึมเศร้าก็ต้องปลอบโยน เห็นเขาหิวโหยก็เหมือนตนหิวโหย เห็นเขาอ่อนแอก็เหมือนตนอ่อนแอ ต้องอุทิศไม่เห็นแก่ตัว ก็ยังมีคนเห็นว่า การช่วยเหลือผู้อื่นต้องมีเงินทอง มีเวลาว่าง อันที่จริงแล้ว คนหลายคนก็ประหยัดใช้จ่าย กินอยู่ง่ายๆ สะสมเงินแต่ละหยาดเหงื่อเพื่อช่วยคนที่ต้องการความช่วยเหลือจริง ๆ บางคนก็สละแรงงานเมื่อเกิดเรื่องเดือดร้อนรีบด่วน แม้ต้องเป็นเขาย่ำน้ำ ตะลุยเข้าไปในหมู่บ้านที่กันดารห่างไกลก็ไม่กลัวลำบาก เพราะการช่วยเหลือคนเป็นเรื่องของความสุข ไม่เห็นแก่ตัวย่อมอุทิศ ถือว่าเป็นผู้มีความรักยิ่งใหญ่ของมนุษย์