พระไภสัชยาคุรุไวฑูรประภาตถาคตเจ้า
เรื่องทุกอย่างล้วนมีต้นตอ ต้นไม้มีตอรากจึงสามารถเจริญเติบโตขึ้น ออกดอกออกผล ผู้เรียนธรรมหากสามารถตั้งอยู่บนฐานรากได้ ก็จะสามารถรักษากายไม่ให้ตกต่ำ รากฐานของการฝึกฝนพุทธะก็คือความประพฤติส่วนที่มนุษย์แตกต่างจากสัตว์เดรัจฉานนั้น คือมนุษย์มีพลังประมาณการรู้จักกำหนดตนเอง มีศีลกับการประมาณตน พูดง่าย ๆ ก็คือมีคุณธรรมการรู้จักประมาณตน ก็คือจิตใจที่รู้จักประมาณความอยากของตนเอง เป็นการรักาษระดับความเหมาะสม เช่นเดียวกับลัทธิขงจื่อที่กล่าวว่า “อารมณ์ที่สำแดงออกอยู่บนมารยาท” หมายถึง “การรักษาศีล” นั่นเอง
ความวุ่นวายของสังคม ตลอดจนความขัดแย้งระหว่างบุคคล ส่วนใหญ่เป็นเพราะมนุษย์ขาดแคลนพลังประมาณตน ไม่มีวิธีบังคับอารมณ์ของตนเองจนก่อให้เกิดผลร้ายในภายหลัง
ในพุทธธรรมมีไตรสิขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา พระสูตรว่า “บำเพ็ญ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างวิริยะ ก็จะดับ โลภ โกรธ หลง ได้” ทั้งนี้เพราะวิบากกรรมทั้งหลาย ล้วนมีเหตุจากโลภ โกรธ หลง โดยที่โลภ โกรธ หลง มาจากการกระทำของกาย วาจา และใจ ดังนั้น ศีลจึงเป็นต้นกำเนิดของเหล่าพุทธะเป็นหลักแห่งการดำเนินโพธิสัตว์มรรค “ศีล” จึงเป็นการป้องกันความผิดเป็นการหยุดความชั่ว “สมาธิ” เป็นความสงบหยุดความคิดคำนึง “ปัญญา” เป็นการทำลายมายาเห็นแจ้งในสัจจะการบำเพ็ญไตรสิขานี้ สามารถเข้าสู่ “นิพพาน” สูงสุดได้
ท่ามกลางไตรสิขานี้ มีศีลเป็นเบื้องต้น เพราะเคร่งครัดในการรักษาศีล ก็สามารถเฝ้ารักษาตอรากแห่งกุศล เป็นการอบรมกล่อมเกลาสมาธิปัญญา เพราะศีลเป็นเหมือนเทพเจ้าผู้รักษากฏที่ดีที่สุดของผู้บำเพ็ญเพียร โดยที่ไม่ใช่เป็นการบังคับ หากกล่าวแบบเถรวาท “การรักษาศีล” มนุษย์กับสวรรค์ติดต่อกันได้ โดยทางมหายาน ผู้คือศีลเป็นจุดมุ่งหมายของการบำเพ็ญโพธิสัตว์มรรคที่ดี เพราะการรักษาศีลสามารถผ่านพ้นเคราะห์ ผู้ที่สามารถรักษาศีลก็สามารถอดทนต่อความอัปยศ ความอดทนต่ออัปยศสามารถก้าวล่วงความโกรธแค้นได้ ดังนั้น ผู้รักษาศีล จะได้รับความคุ้มครองจากเบื้องบน อย่างไร ๆ ก็สามารถเปลี่ยนเคราะห์เป็นโชคได้ เมื่อพบกับความลำบากก็กลายเป็นมงคล ที่จริงแล้วมันเป็นเสบียงสำหรับเวไนยสัตว์ที่บำเพ็ญเพื่อเข้าสู่กระแสนิพพาน โดยเฉพาะกับผู้ที่ยังมีจิตใจไม่แน่วแน่แล้ว “การรักษาศีล” ก็เหมือนชาวโลกที่มี “คัมภีร์หกบารมี” เพื่อเป็นการบังคับ สำหรับผู้บำเพ็ญพุทธะไม่ว่าจะเป็นผู้ออกบวชหรือผู้บำเพ็ญอยู่กับบ้านก็ดี ก็ต้องมี “ศีล” เป็นข้อธรรมที่กำหนดเพื่อเป็นระเบียบแบบแผน จะเห็นได้ว่า ศีลเป็นรากฐานของอริยมรรค เพราะศีลทำให้เกิดฌานสมาธิ สามารถดับทุกข์เกิดปัญญาได้ ดังนั้นจึงเป็นหนทางหลุดพ้นทางหนึ่ง
ในสัทธรรมปุณฑริกสูตรว่า “ศีลเป็นหลักสูงสุดของโพธิสัตว์ จะบ่มเลี้ยงรากแห่งกุศลทั้งปวง ไม่มีหรอกที่เหล่าพุทธะโพธิสัตว์จะไม่ถือศีล เหล่าพุทธะโพธิสัตว์ที่มีลักษณะสมบูรณ์สง่างาม ก็ล้วนมาจากการรักษาศีลทั้งนั้น” ในพระสูตรว่า “การรักษาศีลจะมีลักษณะสง่างาม ผู้ทุศีลมักอัปลักษณ์” การรักษาศีลต้องไม่ปล่อยปละละเลย ต้องสามารถปฏิบัติตามอุดมการณ์ของจิต โดยต้องรู้สึกถึงการกระทำของตนกับความเคยชิน หมายความกว้าง ๆ คือ ถือเอาปัญญาควบคุมความอยากความคาดหวัง ความหมายแคบ ๆ คือ ควบคุมการอยากบริโภค ความกำหนัด ตลอดจนการเคลื่อนไหวของร่างกายทำให้อุดมการณ์ของจิตไม่ไหลไปตามอารมณ์ การรักษาศีลก็คือการรู้จักประมาณมีขีดกำหนด รู้จักก้าวเดินหรือถอยกลับ ดังนั้น ศีล ก็คือแบบอย่างชนิดหนึ่งของคุณธรรมนั่นเอง สามารถที่จะเจริญคุณธรรมได้
ศีลของศาสนา แบบตามนิกายหินยานหรือมหายาน หินยาน (เถรวาท) ก็มีศีล 5 ศีล 8 และศีล 227 ฝ่ายมหายานก็มีศีลวิสุทธิ์ 3 ศีล 10 ศีลลหุ 48 ฝ่ายรหัสยานก็มีศีล สมาธิ การบำเพ็ญแบบวัชรยาน ศีลประกอบด้วย ข้อห้ามและข้อพึงปฏิบัติ ข้อห้ามคือความชั่วทั้งปวงล้วนห้ามทำ ข้อพึงปฏิบัติคือความดีทั้งหลายพึงปฏิบัติ ดังนั้น ศีลโพธิสัตว์ก็รวมอยู่ในนี้ด้วย ศีลสมาธิก็รวมอยู่ด้วย
การรักษาศีล จะต้องรู้จักประมาณกำลังของตนในชีวิตประจำวัน อย่าให้ความอยากในวัตถุหลอกลวงเอา ท่ามกลางชื่อเสียงเกียรติยศ ต้องรู้จักควบคุมตัวเอง การรักษาศีลเป็นการอบรมพลังสามารถในการควบคุมตน การดำรงชีวิตจึงสามารถสงบสุขได้ เมื่อมีพลังควบคุมตนแม้ต้องเผชิญหน้ากับการลวงหลอกอย่างไร ก็จะมีแรงต้านทานได้ คน ๆ หนึ่งหากไม่มีแรงควบคุมตนคือไม่สามารถบังคับตนเองได้ ไม่มีแรงเอาชนะตนเอง ก็จะเป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์ เจ็บปวดและกังวลได้โดยไม่รู้ตัว
คนที่ประสบความสำเร็จสูง พลังควบคุมตนเองจะมากกว่าคนทั่ว ๆไปดังคำกล่าวว่า “เรื่องเล็กทนไม่ได้ เรื่องใหญ่ก็ยุ่งยาก” ทั้งนี้เพราะท่ามกลางการดำเนินชีวิตใช่ว่าทุกอย่างจะราบรื่น ดังนั้นการรักษาศีลก็คือการบ่มเลี้ยงแรงควบคุมตน ผู้สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเอง แรงสมาธิก็ย่อมเพิ่มสูงขึ้น เมื่อมีสมาธิสูง นิสัยที่กลมบริบูรณ์กับปัญญาก็รวมอยู่ด้วย