คำว่า “โปรยทาน” ในภาษาอินเดียคือ “ทาน” ความหมายของโปรยทานก็คือการเอาเงินทองของตนเองแจกจ่ายให้แก่ผู้อื่น เพื่อมนุษย์ผู้ทุกข์ยาก เป็นมหาเมตตาแบบไม่ต้องมีบุญสัมพันธ์กัน เป็นใจที่มหากรุณา ดุจเป็นร่างเดียวกันการกดข่มตนเองเพื่อรับรองผู้อื่นเรียกว่า “บริจาค” หากเป็นผู้บริจาคก็จะได้บุญกุศลตอบแทนชาติหน้าก็สามารถพ้นจากความยากจนเป็นผู้ได้รับบุญกุศลตอบสนอง
ยังมีคำอีกคำหนึ่ง คือ “ทานกับบาตร” หมายถึงผู้บริจาค หรือ “เจ้าภาพ” ผู้มาบำเพ็ญกุศล
ประเทศจีนตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว ก็มีเมตตาให้อย่างยินดีเป็นคุณธรรมอันดีงามในการสร้างกุศล แต่ในปัจจุบันจิตใจคนไม่เหมือนอดีต คุณธรรมเสื่อมทรามเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนทำให้จิตวิญญาณค่อย ๆ สูญสลาย ภาพลักษณ์ที่เห็นก็คือการเห็นแก่ตัว ด้วยเหตุนี้ผู้คนจึงค่อย ๆ ยากจนลง ถึงแม้ว่ายังมีผู้ยินดีบริจาคมากมาย แต่ในใจของคนส่วนใหญ่ ไม่มากก็น้อยล้วนมีใจที่โลภ ขั้นแรกเกิดจากตนเองมีความปรารถนาอยากได้ เพราะได้ในทรัพย์สิน ขั้นต่อไปก็อยากได้ชื่อเสียงดูที่การสร้างสาธารณะประโยชน์ อาทิเช่นการสร้างสะพานหรือถนน ก็ต้องมีการจารึกชื่อไว้ ทำอะไรที่เป็นกุศลนิดหน่อยก็ต้องจารึกชื่อ ภิกษุสงฆ์ขอบริจาคก็ต้องใส่ชื่อ ช่วยเหลือผู้ยากจนก็ต้องใส่ชื่อ....ในใจมีทัศนคติที่ต้องการบุญตอบสนองบางครั้งตัวเองมีวิบากกรรมมาก กุศลเล็ก ๆ น้อย ๆ ข่มอกุศลใหญ่ ๆ ไม่ได้ ที่หวังไว้ก็ไม่สมใจ จึงโทษฟ้าโทษคน นาน ๆ ไปใจที่คิดบริจาคสักนิดก็ไม่มี
เหตุปัจจัยไมใช่สร้างกุศลไม่มีบุญตอบสนอง เพราะกุศลที่ต้องการไม่ถูกวิธีเนื้อนาบุญที่อยากได้กลายเป็นหินกรวด เมล็ดบุญไม่สามารถเจริญงอกเงยได้นับอะไรกับการออกดอกเกิดผล