มัญชุศรี พระโพธิสัตว์
“หลักปณิธาน” เป็นคำปฏิญาณตนกล่าวออกมาเพื่อช่วยเหลือโปรดเวไนยสัตว์ ของพระพุทธะและพระโพธิสัตว์ครั้งสมัยที่ยังไม่ได้บรรลุมรรคผล พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย จะสำแดงโพธิจิตที่ยังประโยชน์และความสุขแก่ผู้มีอารมณ์ โปรดเวไนยสัตว์ให้พ้นจากทุกข์กังวล และให้สำเร็จเป็นพุทธะเป็นต้น “ปณิธานทั้งหมด” อาทิเช่น “สี่มหาปณิธาน” (สรรพสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณเราจะต้องปลดเปลื้องให้พ้นทุกข์ กิเลสทั้งหลายอันไม่มีประมาณ เราจะต้องละทิ้งทำลายให้หมดและปรารถนาให้สรรพสัตว์ทำลายกิเลสให้หมดด้วย พระธรรมของพระพุทธเจ้าอันประมาณมิได้เราจะต้องเรียนรู้ให้หมด พุทธภูมิอันสูงส่งเราจะต้องบรรลุถึงและต้องยังสรรพสัตว์ให้บรรลุด้วย) หากบรรดาโพธิสัตว์อาศัยความพอใจของแต่ละองค์ไปสำแดง ปณิธาน อย่างนี้เรียกว่า “ปณิธานต่างหาก” อย่างมหาปณิธาน 48 ข้อของพระอมิตตาพุทธ และสิบมหาปณิธานของพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ เป็นต้น
สมัยเมื่อครั้งพระอมุตตาภพุทธเจ้า ได้ประกาศมหาปณิธาน 48 ข้อด้วยปณิธานนั้นทำให้สำเร็จสุขาวดีวิสุทธิภูมิอันศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นมหากุศลที่ไม่อาจคาดคิดได้ ปณิธานข้อที่ 18 กล่าวถึงการภาวนาพุทธะ เพื่อไปเกิดใหม่ “เมื่ออาตมาเป็นพุทธะ เวไนยสัตว์ทั้งสิบทิศ ได้ยินนามของอาตมา เกิดโพธิจิตแล้วบำเพ็ญกุศลทั้งปวง ปฏิบัติ 6 บารมี ด้วยฌานแน่วแน่ไม่ท้อถอย แล้วอุทิศ่วนกุศล ขอให้ได้ไปเกิดที่ภูมิของอาตมาให้สวดนามอาตมาด้วยใจเป็นหนึ่ง ตลอดคืนวันไม่ขาด ขณะจะสิ้นชีวิต อาตมากับบรรดาโพธิสัตว์จะมาต้อนรับต่อหน้า ชั่วพริบตาเดียวก็ไปเกิดที่อารามของอาตมาเป็นผู้มีอายุวัฒนะตลอดจนถึงโพธิสัตว์ หากไม่ถึงปณิธานก็ไม่อาจได้สัมมาทิฐิ” ด้วยสิ่งนี้ “การท่องพุทธโทเพื่อไปเกิดตามปณิธาน” เป็นต้น เหล่าเวไนยสัตว์อยากไปเกิดยังวิสุทธิภูมิพึงต้อง “มีปฏิปทาในโพธิจิต” “บำเพ็ญกุศลทั้งปวง” “ปฏิบัติบำเพ็ญหกบารมี” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องแน่วแน่ไม่ท้อถอย ภายหลังก็เอาบุญกุศลนี้อุทิศไป เพื่อเป็นคุณสมบัติแห่งกุศลไปเกิดยังแดนวิสุทธิภูมิหลังจากนั้น ก็ต้องมีใจเป็นหนึ่งท่องพุทธโทไม่ขาดตอนทั้งกลางวันกลางคืนด้วยสิ่งต่าง ๆเหล่านี้ เป็นการยืนยันตามเหตุผลโลก ๆ ที่ว่า “โลกนี้ไม่มีอะไรที่ให้กินเปล่า ๆ” “ไม่มีเหนื่อยยาก แล้วไม่รับของตอบแทน” น่าเสียดายชาวโลกมักจะยินยอมต่อเมื่อใกล้จะหมดลมหายใจแล้วค่อยสวดนโมพุทธโทแล้วทำกุศลอีกเล็กน้อย ก็หวังให้พุทธะมารับไปเกิดยังแดนตะวันตก (วิสุทธิภูมิ)
“ปณิธานชาวโลกที่ไม่สำเร็จ” มีพลังปณิธานที่เอาจิตพุทธะเป็นจิตตนก็จะได้รับการส่งเสริมจากพุทธะ ฟ้าก็จะคุ้มครอง การตั้งปณิธาน หนึ่งคือเป็นการตักเตือนเร่งรัดตนเองให้วิริยะอุตสาหะไปถึงเป้าหมาย สองคือ รับภาระหน้าที่ในการโปรดสรรพสัตว์ คนเรามักมีนิสัยที่คอยจะตกต่ำลง คนส่วนใหญ่ตอนที่เริ่มบำเพ็ญนั้น จะองอาจกล้าหาญมีวิริยะ แต่พอนานวันเข้า มีบางคนก็ต่อสู้กับอุปสรรคไม่ไหว ทนต่อการทดสอบความลำบากไม่ได้จึงท้อถอย บางคนก็เพราะเห็นแก่อำนาจผลประโยชน์จนลืมจิตใจเริ่มแรก คือเริ่มต้นกระฉับกระเฉง ลงท้ายขี้เกียจ ไม่เสมอต้นเสมอปลาย ดังนั้นจึงรู้ว่า “แรงปณิธาน” เป็น “กฏบังคับที่ต้องปฏิบัติให้สำเร็จพุทธะ อย่าลืมปณิธานหลักก็คือการไม่เปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ของการออกบวช การไม่ลืมปณิธานคือการไม่ลืมจิตเริ่มแรก ปลุกเร้าผู้ปฏิบัติบำเพ็ญที่อยากจะสำเร็จพุทธหรือเต๋า ต้องตั้งปณิธานหลัก แล้วอิงปณิธานไปปฏิบัติ ทั้งยังต้องปลุกให้ตนเองตื่นอยู่เสมอ อย่าลืมปณิธานของตนเอง ใจแรกเริ่มย่อมได้รับความปีติคุ้มครองจากบรรดาพุทธเจ้า ก็จะช่วยเหลือเธอไปสู่ธรรมเอย”