mindcyber 1 year ago

ปฏิบัติตามคำเตือน

พระอานนท์

      อันคำเตือนนั้นคือคำที่พูดเตือนด้วยความระมัดระวัง เป็นคำพูดที่มาจากใจ เป็นการแสดงออกของความคิดคำนึง เมื่อใจนั้นตรงก็ไม่ร้าย คำพูดนั้นก็ตรง ไม่เห็นแก่ตน หากใจนั้นมีปิติ ความสว่างก็เอ่อล้นออกทางคำพูด หากใจมีโทสะโกรธ เลวร้าย คำพูดนั้นไม่แน่นอน พูดจริงพูดไม่ชัดเจนเพราะฉะนั้น คุณธรรมโบราณว่า “เคราะห์ทั้งหลายออกจากปาก”

          ดังนั้นผู้ปฏิบัติต้องรักษาความถูกต้อง ใจต้องมีหลักธรรม ช่วยเหลือยังประโยชน์แก่ผู้มีอารมณ์ทั้งหลาย สามารถที่จะหยุดความเลวร้ายด้วยการเผยแผ่ความดีงาม หยุดพูดร้ายด้วยการเจรจาคำที่ดี หยุดพูดส่งเดช อย่ามีลิ้น 2 แฉก อย่างเอาข่าวลือมาพูดเป็นจริง นั้นคือการบำเพ็ญบุญด้วย “วจีกรรม”

          มีคำกล่าวว่า “พูดดีเพียงหนึ่งคำยังความอบอุ่นถึง 3 คืนในหน้าหนาว พูดร้ายทำลายคนก็ยังหนาวสั่นแม้ในหน้าร้อน” คำพูดดี ๆ ให้ความอบอุ่นไม่รู้หมด พูดร้ายสร้างความปวดร้าวอย่างใหญ่หลวง สรรพสัตว์เพราะมีอวิชชาถึงมักเห็นบาปหนักที่ผู้โง่เขลามีอวิชชาถือว่าเป็นผู้เจ็บป่วยหนัก โดยไม่รู้ว่าแรงกรรม ผลของกรรมนั้นน่ากลัวนัก จะยกตัวอย่างที่มีผลจากปากภัย

          ในสมัยพุทธกาล มีคฤหบดีผู้มั่งคั่งชราภาพแต่ไม่มีทายาท จิตใจมีความกังวล จึงไปเฝ้าพุทธองค์เพื่อขอความเห็น พุทธองค์ตรัสว่า “อีกไม่นานท่านก็จะได้บุตรชายที่มีบุญวาสนามากคนหนึ่ง เมื่อเขาเติบโตขึ้นก็ยินดีที่จะออกบวช” คฤหบดีฟังแล้วก็ปิติยินดี กราบทูลว่า “ขออาราธนาพุทธองค์ และเหล่าภิกษุไปฉันเพลที่บ้านข้าพเจ้าพรุ่งนี้เถอะ”

          พุทธองค์กับเหล่าภิกษุก็รับนิมนต์ไปให้คฤหบดีเลี้ยงเพล ระหว่างทางกลับ ทั้งหมดก็พักอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ก็พอดีมีลิงตัวหนึ่งกระโดดลงมา ขอยืมบาตรของพุทธองค์ เมื่อลิงรับบาตรไปแล้ว ก็เอาไปเสียที่ไกล ๆ แล้วก็นำน้ำผึ้งมาเต็มบาตร ใส่มือสองข้างถวายแก่พุทธองค์ พุทธองค์ทรงรับแล้วก็แจกจ่ายให้เหล่าสงฆ์ แล้วก็อวยพรให้ลิงได้บุญตอบสนอง

          ไม่นานนัก ลิงก็ไปเกิดเป็นคนที่บ้านคฤหบดี ขณะเกิดนั้นหม้อไหถ้วยชามล้วนเต็มไปด้วยน้ำผึ้ง สามีภรรยาคฤหบดีรู้สึกประหลาดใจจึงตั้งชื่อว่า “ผึ้งชัย”

          เวลาดุจจรวด ผึ้งชัยเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มีความเบื่อหน่ายในโลกียะ จึงขออนุญาติบิดามารดาออกบวช ภายหลังออกบวช ผึ้งชัยก็ออกไปบิณฑบาตรร่วมกับหมู่สงฆ์ รู้สึกคอแห้ง ก็เอาบาตรช้อนไปในอากาศ ไม่คาดคิดในบาตรเต็มไปด้วยน้ำผึ้ง เมื่อกลับมาที่พัก สงฆ์รูปหนึ่งก็อดทนไม่ไหวจึงกราบทูลพุทธองค์ถึงเรื่องครั้งนี้

          พุทธองค์ตรัสว่า “พวกเธอนึกถึงเมื่อก่อนนานมาแล้ว มีลิงตัวหนึ่งมายืมบาตรไปใส่น้ำผึ้ง แล้วเอามาเลี้ยงหมู่สงฆ์กับพระองค์ได้ไหม เพราะความศรัทธาที่มันบริจาค เพราะฉะนั้นชาตินี้จังเกิดเป็นคน แล้วก็สามารถเอาน้ำผึ้งมาได้ทันที” สงฆ์ก็ทุลถามต่อว่า “ผึ้งชัยมีกรรมสัมพันธ์เช่นไรจึงตกไปสู่ลิง” พุทธองค์ตรัสว่า “ผึ้งชัยตกไปสู่ลิงนั้น เพราะเมื่อ 500 ปีที่แล้ว เขาหัวเราะพระสงฆ์รูปหนึ่งถึงกิริยาที่กระโดดข้ามลำธารเล็ก ๆ ว่าเหมือนลิงไม่ผิดด้วยวจีกรรมที่กล่าวร้าย เพราะฉะนั้นจึงเป็นลิงมาพบพุทธองค์แล้วได้รับการโปรด” บรรดาภิกษุฟังแล้ว ต้องรู้สึกถึงความทุกข์ที่ตอบสนองเพราะพูดร้ายอย่างยิ่งจึงไม่กล้าที่จะพูดส่งเดช

          จะเห็นได้ว่ากฏแห่งกรรมที่ตอบสนอง พวกเขาที่ฝึกพุทธะต้องมีปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดกับของความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย พึงระมัดระวังคำพูด จึงว่า “ระวังคำพูด” มิใช่จะเพียงไม่ให้พูดถึงความถูกผิดของผู้อื่นเท่านั้น แต่ยังสามารถส่งเสริมความสำราญในความดีของผู้อื่นด้วย ด้วยการสาธุการในบุญกุศล อย่าได้ทำร้ายผู้อื่นโดยยังไม่ทันตรึกตรอง เป็นการหาความเจ็บแค้นและสร้างภัย ขอให้ผู้บำเพ็ญตรึกตรองสัก 3 คราก่อนพูดเพื่อปากจะได้ไม่ก่อกรรม วาจาแสดงความหมายเช่นนี้จึงจะสุขกายชีวิตดำรงอยู่ได้เอย

0
372

เตือนใจ

1654918052.jpg
mindcyber
11 months ago

โอบอ้อมอารี

ท่านซือหม่ากวง

1654918052.jpg
mindcyber
1 year ago

กฎสวรรค์หมวดวาจา

1654918052.jpg
mindcyber
1 year ago

นางฟ้าองค์ที่ 2

1654918052.jpg
mindcyber
1 year ago

โลภ โกรธ หลง เหมือนอะไร

1654918052.jpg
mindcyber
1 year ago