ผู้บำเพ็ญควรต้องพิจารณาหลักธรรม “อนิจจัง” อยู่ตลอดเวลา ให้คิดถึง “ความตาย” มิฉะนั้นก็จะขี้เกียจ เพราะมักคิดว่าตัวเองยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้อีกหลายสิบปี ยังมีเวาลาเหลืออยู่มากมาย ค่อยๆ บำเพ็ญไปก็ได้....อย่างไรก็ตาม “ตั้งแต่โบราณมาแล้ว ใครบ้างที่ไม่ตาย” ความตายเป็นข้อคำถามที่ทุกคนต้องเผชิญหน้าไม่ช้าหรือเร็ว หากว่าสามารถจะยอมรับรู้ได้เร็วแล้วก็สามารถจะเตรียมพร้อมได้เต็มที่ เมื่อถึงคราวต้องเผชิญหน้ากับ “ความตาย” ก็จะไม่เศร้าสร้อยหรือหวาดกลัวอันเนื่องมาจากอวิชชา
จุดมุ่งหมายสุดท้ายของการเรียนพุทธธรรมก็คือ “หยุดเกิด พ้นตาย” ต้องมีทัศนะ “หยุดเกิด” ที่ถูกต้องจึงจะมีท่าทีวางเฉยต่อการ “พ้นตาย” เพราะฉะนั้นคนจึงต้องรีบๆ บำเพ็ญ ต้องปล่อยวางความสัมพันธ์ทั้งปวง อย่าได้รีรอหรือโลภแสวงหาอะไรอีก หากตอนนี้ยังไม่รู้จักคุณค่าของการบำเพ็ญอนาคตความทุกข์ก็คือตนเอง อัน “ความตาย” หากเธอพิจารณาให้ลึกซึ้งเอาใจไปพิจารณาให้ดีแล้ว ดังนั้นสิ่งที่เธอหลงใหลอยู่ในโลกนี้โดยไม่ละวางก็จะไม่ถลำลึกเช่นนั้น ก็จะไม่ยึดติด ทุกอย่างจะปล่อยไปตามกรรมสัมพันธ์ต่อเรื่องราวต่างๆ ในโลกอย่างมีน้ำใจ สามารถจะปิดบังความไม่ดีของคนอื่นได้และก็จะไม่ถือสา โกรธแค้นหรือไม่พอใจ การมีใจต่อผู้อื่นแบบนี้จึงจะนับว่าเป็นผู้เจริญตามรอยโพธิสัตว์มรรค