นักปราชญ์ผู้ประดิษฐ์ตัวอักษรก็มักสรรหาเอาสิ่งใกล้ตัวเป็นอันดับแรก ที่ไกลตัวนี้สรรหาเอาจากสิ่งต่างๆและปรับให้เหมะกับหลักธรรมของหยินหยาง และจำแนกจากชนิดต่างๆของธรรมชาติ ลักษณะของอักษรก็จะมีความหมายอยู่ในตัวของมันเอง ที่นี้ก็ขอเอาตัวอักษรเจกับเนี้อมาอธิบาย
เจ อักษรเจในภาษาจีน ประกอบดัวย
๑) หนึ่งจุด ( . ) หนึ่งจุดนี้หมายถึง ธาตุเดิม หรือมูลธาตุเป็นธาตุกลมกลืน มีลักษณะกลม ปภัสสร สว่างสดใส ไม่พร่องไม่ขาดอยู่เบื้องบนก็คือเต๋า ถ้าอยู่กับมนุษย์ คือ จิตแห่งชะตาฟ้า มีอยู่ในตัวทุกๆคน คนที่ถือศีลเจ จำเป็นต้องดูแลรักษาจุดแสงญาณจุดนี้เอาไว้ ประคับประคองไม่ให้ดับมืดลง ก็จะให้แสงสว่างเพิ่มมากขึ้น สว่างไสวไม่ดับมืด
๒) หนึ่งขีดขวาง ( - ) เป็นเลขหนึ่งในภาษาจีน เต๋านั้นไร้นามเริ่มต้นด้วยหนึ่ง บนร่างกายคนก็คือหนึ่งญาณทวาร ผู้ถือศีลเจ ต้องเฝ้ารักษาญาณทวารนี้เสมอ ถือว่าเป็นประตูแท้ที่ถูกต้อง เป็นประตูที่วิญญาณเข้าออกแท้จริง หากไม่เฝ้ารักษาให้ดีๆ ก็อาจหลงออกจากประตูอื่นๆเป็นประตูสู่อบายภูมิ เหมือนคนตาบอดที่หลงทาง ไม่มีที่สิ้นสุด
๓) ภายใต้หนึ่งจุดหนึ่งขีดขวางก็แบ่งเป็นสามตอน ก็หมายถึงเมื่อกายรู้จักมหาธรรมแล้ว การบำเพ็ญก็จะมีเป้าหมาย
๔) อักษรตัวกลางคือ........ มีความหมายว่าสุด, สิ้น, หมดอักษรซ้ายขวาคืออักษรมีดสองเล่ม เล่มหนึ่งคือ มีดตะวัน อีกเล่มคือมีดจันทรา ความหมายในตอนนี้คือ เมื่อผู้บำเพ็ญรู้จักประตูแม้ที่จะต้องเดินแล้ว ก็ต้องให้สิ้นสุดหรือหมดใจคน ใจคนคือใจอะไร ใจคนคือใจกิเลสใจใคร่อยากใจโลภ โกรธ หลง เป็นต้น เมื่อหมดสิ้นใจคนแล้ว จิตพุทธะก็สดใสปรากฎขึ้น นั่นคือ สว่างใจ เห็นจิต หลุดพ้นความเกิดดับ ดังนั้นการบำเพ็ญในแต่ละวันจะบำเพ็ญอย่างไร จึงจะเข้าถึงสภาวะเช่นนี้ได้นั่นคือการบำเพ็ญหลักมนุษยธรรม สร้างกุศล จนกว่าจะผ่านอุปสรรคเมื่อผ่านด่านได้แล้ว มารทดสอบก็จะถอยไปเอง นี่คือข้อวัตรของอักษรสิ้น ..... อักษรมีดทั้งสองข้างของอักษรสิ้น คือมีดตะวันจันทรา มีดทั้งสองวจะส่งเสริมซึ่งกันและกัน เป็นมีดสำหรับตัดบาป ตัดความชั่วตัดความใคร่อยาก ตัดมหาโจรทั้งห้าได้แก่ อายตนะทั้งห้า ซึ่งเป็นมูลฐานของความใคร่อยาก เมื่อผู้บำเพ็ญสามารถใช้มีดทั้งสองเล่มตัดกิเลสได้หมดก็จะสะสางมารได้หมดสิ้น ก็จะขึ้นสู่สภาวะที่บริสุทธิ์ใสสะอาด
๕) อักษร...... นี้ มีขีดตรงหรือเส้นตั้งฉาก เส้นซ้ายคือเส้นหยางหรือเส้นสว่าง หยางหมายถึงความเป็นกลาง ความศรัทธาเป็นหลักธรรม มีเมตตาโอบอ้อมอารี เป็นเรื่องของการปล่อยสัตว์ถือศีลเจส่วนเส้นขวา เป็นเส้นหยินหรือเส้นมืด เป็นเส้นที่เห็นแก่ตัว เอนเอียงมีความใคร่อยาก จะทำลายความเมตตาอารี จึงฆ่าสัตว์กินเนื้อ เมื่อผู้บำเพ็ญรู้หลักธรรมของหยินหยาง ก็สามารถที่จะเพิ่มหยางลดหยินควบคุมตนฟื้นฟูหลักธรรม ลดละความใคร่อยาก ระงับอารมณ์คืนสู่จิตเปรียบความรอบรู้เป็นปัญญา ละความเพ้อเจ้อมาสู่ความจริง ถ้าทำได้เช่นนี้ รังสีญาณก็จะสว่างใสว จิตก็จะสดใสสว่าง
๖) ระหว่างเส้นตั้งมีเส้นขวางสองเส้น เป็นเส้นแบ่งเขต คือแบ่งเขตเป็นฟ้าและดิน หมายถึงอริยะกับสามัญ
๗) ใต้เส้นของสองเส้นเป็นอักษรเล็ก ....... ตรงนี้มีความสำคัญมากตัวเล็กนี้หมายถึงสิ่งเล็กๆน้อยๆที่ใจต้องค่อยระมัดระวัง ทุกอย่างต้องระมัดระวังหมด ระมัดระวังการบำเพ็ญ ระมัดระวังองค์คุณของจิต ระมัดระวังจิตบรรลุธรรม ระมัดระวังการดำเนินการ ระมัดระวังรักษา ระมัดระวังให้ถึงเบื้องบน ระมัดระวังแรงใจ จนกว่าใจจะตรัสรู้ สว่างบริสุทธิ์ ที่สำบากคือเผลอตัวไม่ระมัดระวัง ก็จะร่วงตกลงมา ทำลายงานธรรมสิ้นเปลืองบารมี ดังนั้นจะไม่ระมัดระวังไม่ได้เลย
ความหมายของอักษรเจตัวนี้ ผู้บำเพ็ญควรเข้าใจ รักษาศีลเจบำเพ็ญบารมี มิใช่เพียงหมายถึงการงดเว้นทานเนื้อเพียงอย่างเดียวก็หาไม่ยังต้องสนใจการบำเพ็ญบารมีของกายใจอีกด้วย จึงจะพูดได้ว่า ถือเจทั้งกายและใจ
อักษรเนื้อประกอบไปด้วย
๑) รูปประตู...... ประตูนี้แยกเป็นส่วนนอกและส่วนในประตูส่วนในเป็นหยิน ประตูส่วนนอกเป็นหยาง
๒) ภายในประตู๋มีอักษรคนสองตัวซ้อนกันอยู่ ...... อักษรคนตัวล่างอยู่ภายในประตูส่วนในทั้งหมด มีสภาวะเป็นหยิน หมายถึงความสกปรก มือมัว เป็นสภาวะจิตของสัตว์ต่างๆอักษรคนตัวบนมีครึ่งหนึ่งอยู่ภายในประตูอีกครึ่งหนึ่งอยู่นอกประตู ดังนั้นจึงมีสภาวะครึ่งหยินครึ่งหยาง ความหมายก็คือ มนุษย์มีสภาวะครึ่งหยินครึ่งหยาง
๓) มนุษย์ที่รับประทานวิญญาณของสัตว์อยู่ทุกวัน เมื่อรับประทานไปนานๆสภาวะหยางก็หมดไป สภาวะหยินก็เพิ่มขึ้น ในที่สุดก็จะเป็นหยินทั้งหมด ซึ่งก็หมายถึงร่วงสู่สภาวะการหมุนเวียน วิญญาณของสัตว์ที่ถูกคนกินไปก็จะขยับสูงขึ้น คือได้ชดใช้กรรมไป ดังนั้นการกินไปกินมา วิญญาณของคนและสัตว์ก็จะอยู่ภายในแดนสนธิยา (หยินหยางเจียะ) คือหมุนเวียนอยู่ในวงเวียนกรรมของสัตว์โลก ดังกล่าวที่ว่า
อักษรเนื้อคือคนสองคน คนหลงกลไม่รู้กินคำโต กินเขาห้าขีดคืนครึ่งกิโล คิดแล้วโอ้คือคนกินคน
ที่สี่แยกคนกินหมา ที่เนินเขาหมากินคน
คนไม่รู้ความหมายมัน ที่แท้คือคนกินคน
๔) พุทธศาสนามีกฎแห่งกรรมคอยตักเตือนสอนคนว่า คนไม่ควรกินเนื้อ เพื่อที่จะตัดต้นเหตุของอกุศล (บาป) จะได้ไม่ต้องเกิดผลกรรมจะได้ไม่ต้องร่วงสู่วงเวียนกรรม ก็จะสมบูรณ์เป็นหนทางสิ้นสุด
พระกายพระพุทธเจ้าเหมือนพระสาวก
พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ สวนอัมพวัน ของหมอชีวกโกมารภัจจ์เมืองราชคฤห์ เพื่อแก้ข้อข้องใจของบางท่านที่ว่า พระกายของพระพุทธเจ้าจะเหมือนกับของคนทั่วไปในสมัยนั้นหรือไม่ ? บางท่านก็ว่าไม่เหมือนบางท่านก็ว่าเหมือน ยังหาข้อเป็นที่ยุติไม่ แต่ในพระสูตรนี้ได้แสดงหลักฐานที่น่าเชื่อว่าพระกายของพระพุทธเจ้าเหมือนกับของสาวกทั่วไป
เรื่องโดยย่อมีว่า คืนวันหนึ่งเดือนหงายแจ่มดี พระเจ้าอชาตศัตรูได้ชวนหมอชีวกโกมารภัจจ์ ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก ขณะที่เสด็จไปถึงนั้น พระพุทธเจ้ากำลังประทับอยู่ในที่ประชุมพระสงฆ์ 1,250 รูป พระเจ้าอชาตศัตรูไม่ทรงทราบว่าองค์ไหนคือพระพุทธเจ้า ต้องตรัสถามหมอชีวกว่า
“ชีวกผู้สหาย ! ไหนพระผู้มีพระภาค ?”
หมอชีวกได้ทูลถามตอบว่า
“ขอเดชะ นั่นพระผู้มีพระภาค ประทับนั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ภิกษุสงฆ์แวดล้อมอยู่”
ส่วนเสริม
ปัญหาที่ว่า พระกายของพระพุทธเจ้า จะเหมือนของคนโดยทั่วไปหรือไม่ ? ยังมีผู้ที่ข้องใจอยู่บ้าง จึงยกเอาพระสูตรนี้ม่เป็นหลักฐานจะได้หายสงสัยเสียที
ความจริง ถ้าเรานึงถึงว่าพระพุทธเจ้า ก่อนที่ท่านจะเป็นพระพุทธเจ้านั้น ท่านก็เป็นลูกคน เกิดจากคน มีพ่อมีแม่เหมือนคนทั่วไป
เรื่องอภินิหารต่างๆก่อนเกิดก็ดี กำลังเกิดก็ดี เกิดแล้วก็ดี เป็นเรื่องของ “บารมี” คือคุณธรรมต่างๆที่ท่านได้บำเพ็ญไว้แล้ว เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ และทุกคนก็ทำได้ ถ้าได้บำเพ็ญบารมีถึงขนาดนั้นไม่น่าจะสงสัยเลย
ยิ่งตอนที่ท่านบำเพ็ญเพียร จนบรรลุธรรมแล้ว เกิดมีฤทธิ์และอภินิหารต่างๆก็ยิ่งจะหมดสงสัยเลย เพราะอำนาจของจิตนี้ มันลึกลับซับซ้อน ยากที่จะพูดให้คนที่ไม่เคยฝึกหัดรู้ได้ เพราะเป็นเรื่องนามธรรมที่จะสัมผัสได้ทางจิต
ว่าถึงรูปกายตามพระสูตรนี้ ก็ทรงเหมือนกับคนทั่วๆไป พระเจ้าอชาตศัตรู แม้จะเสด็จเข้าไปจนใกล้ ก็ยังดูไม่ออกว่าองค์ไหนเป็นพระพุทธเจ้า ต่อเมื่อหมอชีวกชี้ให้ดูจึงเห็น
มีเรื่องที่น่าสงสัยอยู่นิหน่อย คือตำราที่ว่าถึง “มหาบุรุษลักษณะ” 32 ประการ ผู้จัดทำมีความเชื่อว่าเป็นตำราของพราหมณ์ไม่ใช่ของพุทธ ได้ลองหลับตานึกวาดมโนภาพดูถ้าคนเรามีลักษณะอย่างนั้น เช่น มือยาวถึงเข่า มีฝ่าเท้าเสมอกัน จะเป็นคนที่งามที่สุดได้อย่างไร ?
มีพระสงฆ์สาวกนักปฎิษัติธรรมและนักพัฒนาสังคมจำนวนมากที่ท่านบำเพ็ญตนสร้างคุณประโยชน์ให้แก่เพ...