ป้าเหวียนยังชีพด้วยการปล่อยเงินกู้ แกไม่มีลูก ไม่มีพ่อแม่พี่น้องจึงถนอมรักเงินทองเป็นแก้วตาดวงใจใครกู้ยืมไปเท่าไร เมื่อไร อยู่ที่ไหน ดอกเบี้ยเท่าไร แกจะมิให้ตกหล่นเลยแม้แต่สลึงเดียว
พอกึงกำหนด ดอกเบี้ยเงินต้นลูกหนี้ทุกคนจะต้องมาจ่ายให้ครบถ้วนตรงตามสัญญา หาไม่แล้ว ลูกหนี้รายนั้นจะต้องหอบลูกหอบหลานหลบหนีไปโดยไม่ให้ระแคะระคายแก่ผู้ใดเลยในยามวิกาล
แต่หากทนอยู่สู้หน้าป้าเหวียนได้ ก็ต้องทำใจไว้เลยว่า จะต้องทนอัปยศอดสู ข้ามน้ำข้ามฟ้า ข้ามภพข้ามชาติกันทีเดียว
ป้าเหวียนจะต้องคร่ำครวญพรรณาประหนึ่งว่า ลูกหนี้รายนั้นได้พรากลูกรักจากอกของแกไป
ลูกหนี้รายหนึ่งจ่ายดอกเบี้ยมาเป็นปีแล้วหายหน้าไป ป้าเหวียนไม่ได้ออกตามหา เพราะช่วงนี้แกเป็นเบาหวานหนัก นัยน์ตาบอดอีกทั้งถูกตัดขาจนไม่อาจย่ำเท้าไปตามหา ลูก ที่ไหนได้อีก
แกได้แต่นอนคร่ำครวญเรียก ล้ดหนีไปโดยไมใ้ีาย ขายจไมยงให้เกูก อยู่บนเตียงจ ยง“เจ้าสามหมื่นจะต้องกลับมาวันที่ห้านะ เจ้าแปดพันวันที่เก้า เจ้าสองหมื่นวันที่ยี่สิบ แต่เจ้าสองแสนนั่นชิเงียบหายไปหลายเดือน”
ว่าแล้วแกก็สะอื้นไห้ ห่วงใยเจ้าสองแสนจับใจ..
วันหนึ่ง เถ้าแก่ตกยากคนหนึ่งมายืนอยู่ข้างเต ียงป้าเหวียน เอาธนบัตรปึกใหญ่มาใส่มือให้พร้อมกับพูดว่า “ป้าเหวียน ขอบใจที่ให้กู้ อั๊วพอจะฟื้นตัวได้แล้ว.....นี่สอ’แสน อั๊วเอามาจ่ายให้”
ป้าเหวียนผวากำมือแน่น แกยกเจ้าสองแสนขึ้นตรงหน้า เหมือนจะมองดูให้เต็มตา แล้วลดมือลงมา เอาเจ้าสองแสนมาหอม มากอด หัวเราะรื่นสุดแสนจะดีใจ ละล่ำละลักว่า
“กลับมาแล้วหรือลูก กลับมาแล้วหรือลูก” พอสิ้นเสียงเรียกลูก เสียงหัวเราะก็หยุดกึกขาดหาย มือที่กอดเจ้าสองแสนตกลงมาข้างตัว ป้าเหวียนหัวเราะดีใจ จจนหัวใจวาย
คนที่อยู่ในเหตุการณ์เล่าเรื่องนี้ให้เราฟัง ทุกคนสลดใจ ได้ข้อคิดกันหลายอย่าง
ขณะใจคอหดหู่อยู่นั้น ผู้ร่วมฟังเเสนชื่อคนหนึ่งเอ่ยถามอย่างเดือดร้อนแทนว่า
“แล้วดอกเบี้ยเงินสองแสนละ เขาไม่จ่ายด้วยหรือ ?”
ที่เมืองไทจง นาย ก. ได้เข้าไปอยู่ในเมืองต่อสู้ชีวิตตั้งแต่เด็ก หลังจากไต้หวันได้รับอิสรภาพ...