พระพุทธองค์ ได้ทรงแสดงเหตุที่จะให้เกิดความสุขไว้มากมายหลายแห่ง และหลายระดับ ตั้งแต่ระดับความสุขของผู้ครองเรือนจนถึงระดับความสุข ของผู้ไม่ครองเรือน คือ นักบวชทั้งหลายในบรรดาคำสอนอันมากมาย ที่จะเป็นบันไดไปสู่ความสุขนั้น มีอยู่ข้อหนึ่งที่เห็นว่ารัดกุม และสามารถครอบคลุมถึงความหมายของปัญหาข้างต้นได้ครบถ้วน ได้แก่พุทธวจนะที่มาในพระธรรมบท (25/50) ที่ว่า “เว้นเหตุทุกข์ย่อมมีสุขในที่ทั้งปวง”เมื่อท่านได้อ่านพุทธภาษิตนี้แล้ว บางท่านอาจจะร้อง“ว้า...มันกว้างเกินไป จนจับหลักไม่ได้” ก็ถูกละ...ความทุกข์นั้นมีมากมาย เราก็ควรที่จะต้องหาทางเว้น “ต้นเหตุ” ที่จะให้เกิดความทุกข์ต่าง ๆ เหล่านั้นให้มากที่สุด ถ้าเราสามารถเว้นเหตุแห่งความทุกข์ได้มากเท่าไหร่ เราก็จะได้รับความสุขมากขึ้นเท่านั้นการที่คนเราจะรู้ว่า อะไรเป็น “ต้นเหตุ” ของความทุกข์ อะไรเป็นต้นเหตุของความสุข ก็มีเพียงตัว “ปัญญา” เท่านั้นที่จะหาต้นเหตุ ได้ ในพระธรรมบท (25/50) พระพุทธองค์จึงได้ตรัสว่า“ปัญญา พาให้บรรลุความสุข”
ก็เป็นอันว่า ทางพระพุทธศาสนา ท่านเน้นที่ตัวปัญญูาว่าสามารถใช้ได้ทั้งดับทุกข์ และใช้สร้างความสุขได้ด้วย ที่นี้เราก็ต้องมา “ปลูกปัญญา” กันว่า ปัญญานั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ? ในสังคีติสูตร ( 1 1 /1 99) ท่านพระสารีบุตร ได้แสดงถึงเหตุที่จะให้เกิดปัญญาได้ 3 ทาง คือ
1. จิตตามยปัญญา ปัญญูาเกิดจากความคิด หรือพิจารณาทบทวนเหตุผล เรียกว่าต้องใช้สมอง ปัญญาจึงจะเกิด
2. สุดมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟัง การอ่าน การเล่าเรียน การค้นคว้าหาความรู้ การสอบถามท่านผู้รู้
3. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฝึกฝนอบรมการลงมือกระทำหรือปฏิบัติ การทดลองปฏิบัติด้วยตนเองเนือง ๆ
มีข้อที่ควรสังเกต ระหว่างคนที่มีความคิด กับคนที่มีปัญญานั้น อย่าได้เอาไปปะปนกัน มันจะแก้ปัญหาในทางดับทุกข์ได้ แม้ว่าความคิดจะเป็นต้นเหตุให้เกิดปัญญาก็จริง แต่ถ้าคิดเพียงตื้นๆหรือผิวเผิน ก็จะไม่เกิดปัญญา คือไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาในชีวิตได้หรือใช้ดับทุกข์ไม่ได้
ดังนั้น ความคิดกับปัญญาจึงไม่เหมือนกัน แต่ว่าความคิดนั้นอาจเป็นบ่อเกิดของปัญญาได้ เมื่อเรามีปัญญาแล้ว ก็เหมือนว่ามีดวงตา หรือมีแสงสว่างที่จะใช้ส่องนำทาง ให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต และบรรลุถึงจุดมุ่งหมายปลายทาง คือความดับทุกข์ตามลำดับขั้นจนถึงพระนิพพาน อันเป็นจุดหมายปลายทางของทุกชีวิต
เพื่อนกิน สิ้นทรัพย์แล้ว แหนงหนี หาง่าย หลายหมื่นมี มากได้ เพื่อนตาย ถ่ายแทนชี วาอาตม์ หายาก ฝากผีไข้ ยากแท้ จักหา