ข่งจื้อ
วิถีเต๋าสามพันหกร้อยทาง
แย่งชิงถากถางระส่ำระสาย
ทวนกระแสฟื้นจิตแท้กล่อมกราย
สลับสายกลไกลับเฝ้าองค์ธรรม
ปุถุชนว่างก็หาอบาย ไม่มีที่ไหนที่ไปไม่ถึง พบบัณฑิตแล้วเกิดเบื่อหน่าย กลับที่ไม่ดีเสีย แล้วยึดอย่างคนดีหันมองตน แม้จะมองเห็นตับ ปอด จะหาประโยชน์อันใด บัณฑิตผู้ปราชญ์ในปราชญู์นั้นผู้สนิทในสนิทนั้น สำหรับปุถุชนชอบสบายในสบายนั้น ชอบประโยชน์ในประโยชน์นั้น เช่นนี้แม้สิ้นชาติก็ไม่ลืม
ไม่เอนเอียงเรียกว่าตรงกลาง ไม่แปรเปลี่ยนเรียกว่าอมตะ ตรงกลางนั้นคือทางตรงของโลก อมตะนั้นคือหลักธรรมของโลก บทธรรมนี้คือการถ่ายทอดวิถีจิตของศาสนาข่งจื้อ ท่านจื่อซือเกรงว่านานๆไปก็จะคลาดเคลื่อน ดังนั้นจึงเขียนเป็นคัมภีร์เอาไว้ แล้วถ่ายทอดให้ท่านเม่งจื้อต่อไป คัมภีร์นั้นเริ่มต้นด้วยหลักธรรมหนึ่ง
ตรงกลางกระจายหมื่นสาย สุดท้ายก็รวมคืนสู่หลักธรรมหนึ่งปล่อยแผ่ขยายครอบจักรวาล เมื่อเก็บซ่อนมิดชิด รสเต๋านั้นไม่มีหมดสิ้น ควรรักษาให้ท่องแท้เถิด ผู้ที่ชอบการอ่านควรสืบเสาะก็จะได้รับตลอดชีวิตใช้ได้ไม่มีอันหมดสิ้น
ชะตาฟ้าเรียกจิต คล้อยตามจิตเรียกว่าธรรม การบำเพ็ญูธรรมเรียกว่าศาสนา ธรรมนั้นไม่อาจหลีกห่างได้แม้ขณะหนึ่ง ที่หลีกห่างได้หาใช่ธรรมไม่ ดังนั้นบัณฑิตพึงระมัดระวังสิ่งที่มองไม่เห็น ให้หวาดเกรงต่อสิ่งที่ไม่ได้ยิน จะเห็นสิ่งที่ซ่อนไม่ได้ จะเผยสิ่งที่แยบยลไม่ได้ดังนั้นบัณฑิตพึงระมัดระวังต่อการสัมผัสนั้น
ขณะที่ความยินดีโกรธเศร้าหรรษา ยังไม่บังเกิดขึ้นเรียกว่าตรงกลาง ถ้าบังเกิดขึ้นอยู่ท่ามกลางได้ เรียกว่า ละมุนละม่อม (ปานกลาง)ตรงกลางนั้นเป็นฐานใหญ่ของโลก ละมุนละม่อมคือการบรรลุธรรมของโลก เป็นการเข้าถึงตรงกลางพอดีของตำแหน่งฟ้าดิน สรรพสิ่งได้รับการฟูมฟักเอย