ความหวังของคนบุญ

มีชายผู้หนึ่ง นิยมชมชอบต่อการประกอบกรรมดี ให้บุญสุนทานอยู่เป็นเนืองนิจ เมื่อจบชีวิตลง ณ ยมโลก พญายมราชให้การต้อนรับเขาดั่งว่าเป็นแขกผู้มีเกียรติ และได้กล่าวชมยกย่องชายผู้นี้อย่างไม่ขาดปาก ในขณะนั้น พญายมราชได้กล่าวว่า

“น้อยเหลือเกิน! คนเช่นท่านยากนักจักพบได้ ตอนที่ท่านอยู่บนโลก ท่านประกอบความดีไว้มากเหลือเกิน หากถึงเวลาที่ท่านจะไปเกิดใหม่อีกครั้ง มีความปรารถนาเช่นไร?จงกล่าวมาเถิด เราจะเนรมิตให้ท่านตั้งใจปรารถนา! ”

ชายผู้ใจบุญเมื่อได้ฟังก็ให้ยินดีเป็นที่สุด จึงกล่าวออกไปว่า

“ ข้ามีความปรารถนาอยู่ 4 ข้อ ”

“ อะไรหรือ? ท่านจงกล่าวมาเถิด ” พญายมราชกล่าว

“ ข้อแรก ภรรยาหนึ่ง อนุสอง อีกทั้งสวยสะคราญตา ”สิ่งที่เขาหวังก็คือ ภรรยาหลวงหนึ่งคนอนุภรรยาอีกสองคนรวมแล้วก็สามคน และทั้งสามจะต้องสวยสะคราญตา ท่านยมราชเมื่อได้ฟังก็คิดว่าไม่เหลือบ่ากว่าแรงจึงตกลง

“ ข้อที่2 นาดีอุดม100ไร่ไม่ขาดน้ำ ” พญายมราชตอบตกลง เพราะไม่เมากมายอะไรมีเหตุมีผลอยู่

“ ข้อที่3 บิดาเป็นขุนนางบุตรชายเป็นจอหงวน ”มาถึงตอนนี้พญายมราชไม่เพียงไม่ตอบ แต่สีหน้าก็ชักจะเปลี่ยนไป จึงได้ถามออกไปว่า

“ แล้วขอที่สี่คืออะไร?”

“ ข้อที่4 ข้าขอเป็นนายอำเภอ ” ความหมายก็คือ บิดาเป็นขุนนาง ส่วนบุตรเป็นจอหงวน ส่วนตนก็ไม่ควรที่จะไม่มีชื่อเสียง แต่ก็ไม่อยากที่จะเป็นจอหงวนหรือขุนนางใหญ่ขอเพียงตำแหน่งเล็กๆ ที่อิสระเสรี มีความสุขกับชีวิตก็พอ

เมื่อชายใจบุญกล่าวจบ พญายมราชถอนหายใจและสายหน้าพร้อมกับกล่าวว่า

“ โธ่เอ้ย! ถ้าโลกมนุษย์ดีจริงเช่นนี้! ข้าขอยกตำแหน่งพญายมราชของข้าให้เจ้าก็แล้วกัน ข้าจะขอกลับไปเกิดเอง! ”

เศรษฐีผู้หนึ่งที่ร่ำรวยแต่โลภมาก กับยาจกหนึ่งที่รู้จักพอ แม้นนำมาเปรียบเทียบกัน แบบไหนที่เรียกว่ามั่งมีแท้จริง? ดังคำกล่าวที่ว่า “ผู้รู้จักพอ แม้กายจนแต่ใจร่ำรวย ผู้ไม่รู้จักพอแม้กายมั่งคั่งแต่ใยากแค้น” เศรษฐีผู้มั่งมีแต่ไม่รู้จักพอ แม้เขาจะมีเงินเป็นร้อยล้าน คิ้วของเขายังคงขมวด แต่ยาจกผู้รู้จักพอ แม้เขาจะเก็บเงินได้จากข้างทางเพียงสิบบาท ก็ทำให้เขายิ้มได้ทั้งวัน แท้จริงแล้วความร่ำรวยหรือยากจนนั้นอยู่ที่ใจของเรานั่นเอง หากเราเอาแต่อิจฉาผู้มั่งมี เราก็จะรู้สึกว่าเรานั้นยากจนตลอดไป แม้นกลับไปมองผู้ที่ยากจนกว่า เราจะรู้ว่าแท้จริงแล้วเราก็ยังโชคดีกว่าผู้อื่นอีกมากมาย


พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง

ทุกข์ที่สุดของชีวิตมนุษย์คืออะไร? คือตัณหาความ

อยากที่มีมากเกินไป แม้นรู้จักตัดซึ่งตัณหาไปส่วนหนึ่ง ความ

กลัดกลุ้มก็จะหายไปส่วนหนึ่ง ความเป็นสุขก็จะเพิ่มขึ้น

ความสับสนมีผลกระทบต่อจิตวิญญาณ ตัณหาความอยากมี

ผลกระทบต่อร่างกาย โบราณกล่าวว่า

“เห็นทุกข์เป็นสุขเพราะตัณหาความอยาก”

0
914

ลืม - จำ

1654918052.jpg
mindcyber
8 months ago

เส้นทางอริยะ ตอนที่ยี่สิบหก

1654918052.jpg
mindcyber
1 month ago

ครั้งที่ 11 พระอรหันต์เล่าถึงความพากเพียรบากบั่นในการบำเพ็ญปฏิบัติ

1654918052.jpg
mindcyber
2 weeks ago

โซบะ

1654918052.jpg
mindcyber
2 years ago

ครั้งที่ 58 ตอน ชมการเวียนว่ายตายเกิดใน 6 ช่องทาง

1654918052.jpg
mindcyber
5 months ago