พระอาจารย์ฮุ้ยเหนิง
การฝึกพุทธะก็คือการฝึกจิต การฝึกจิตก็คือการฝึกฝนจิตใจของตน ดังนั้นเมื่อเข้าสู่พุทธธรณีแล้วก็ต้องสนใจ จิตใจต้องรับการฝึกฝนสักตั้งหนึ่ง ธรรมนั้นได้ด้วยการทวนกระแส พุทธะสำเร็จท่ามกลางความทุกข์ โบราณว่า “ไม่ผ่านความหนาวเหน็บแทบกระดูกสลาย มีหรือจะได้กลิ่นหอมของดอกเหมย” กับผู้ที่เข้าสู่พุทธธรณีเริ่มแรก จิตใจจะเปี่ยมด้วยความจริงใจ ยึดมั่นในความศรัทธา คาดว่าจะปลอดโล่งไปตลอดฝั่งหารู้ไม่ว่าการบำเพ็ญธรรมเหมือนพายเรือทวนกระแส ไม่ผ่านการชิมรสของมหาสัทธรรม เมื่อปฏิบัติธรรมไปนานย่อมมีอุปสรรคมากมาย นี่ก็คือการเข้าสู่ขั้นตอนของการทดสอบ
งานหนึ่งสำเร็จได้ต้องผ่านการทดสอบหลายครั้ง ผ่านการฝึกกรองสิ่งไม่ดีออกไปจนกว่าจะสมบูรณ์สวยงาม จึงจะสำเร็จมรรคผล ดังนั้นผู้บำเพ็ญธรรมนอกจากยอมเหน็ดเหนื่อยอย่างมากแล้วยังต้องยอมทนทุกข์ให้เขากล่าวโทษอีกด้วย จึงจะผ่านด่านที่คนทั่วไปไม่สามารถอดทนได้ ยอมให้เขากล่าวโทษที่ยากจะยอมรับได้แรงปณิธานลึกล้ำของผู้บำเพ็ญธรรมนั่นคือเป็นผู้มีใจสำเร็จงานธรรมพันปีได้ในชาติเดียว มิใช่ว่าเมื่อถูกคลื่นซัดก็ล้มครืนเสียแล้ว ก็ยากที่จะสำเร็จงานพุทธะที่ยิ่งใหญ่ หากประสบกับภาวะเช่นนี้เข้าก็ควรเข้าใจว่าสุภาพบุรุษต้องมีสภาพจิตใจที่ยืดได้หดได้รับได้แปรได้สงบสุขได้ ย่อมสามารถทวนกระแสโดยไม่ติดขัด ฝ่าฟันด่านยากเพื่อเข้าสู่โพธิ
เมื่อสอบให้ละเอียดถึงสาเหตุ สภาวะร้ายแม้ว่าจะเกิดจากฟ้า แต่ที่แท้แล้วก็มาจากคน เพราะกรรมจากอดีตชาติของคนสับสนหลายด้านปัจจุบันมีใจที่ต้องการตัดกรรมทั้งหมดก็ควรที่จะชำระสะสางกรรมจากอดีตชาติให้หมด ไม่ให้แปดเปื้อน ดังนั้น การได้รับความเหนื่อยยากและถูกกล่าวหาโจมตีนั้นเป็นการชดใช้หนี้กรรม อันเป็นกลไกของการหลุดพ้นกรรม
ผู้บำเพ็ญธรรมฝึกฝนพุทธะต้องเข้าใจยอมรับเช่นนี้แล้ว เมื่อพบอุปสรรคก็รับได้แล้วแก้ไข โดยไม่มีใจเคียดแค้น เอาธรรมปีตีไปแก้ไขหนี้กรรม นั่นคือเมื่อพบความทุกข์ยากจะกลายเป็นมงคล นั่นคือเป็นผู้ได้บรรลุบ้างแล้ว