พระมหากัสสปะ
การบำเพ็ญพุทธธรรมมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การขจัดนิสัยไม่ดีของตน การเห็นผิดเพื่อบ่มเลี้ยงให้ใจสว่าง หลุดพ้นการเกิดการตาย ส่องเห็นจิตตนเพื่อก้าวสู่ฝั่งโน้นสมัยก่อนที่บรรพจารย์และผู้สำเร็จยิ่งใหญ่นั้น จะฝึกฝนมากมายเพื่อขัดเกลานิสัยตลอดจนผ่านพ้นการทดสอบต่าง ๆ จึงจะสำเร็จได้
เวไนยสัตว์มีวิบากกรรมดุจทะเล นานแล้วที่ไม่รู้จักใจเดิมท่ามกลางทะเลมนุษย์อันเวิ้งว้าง ใครบ้างที่สามารถตักเตือนอย่างจริงใจ ให้คำสั่งสอนนอกเสียจากผู้ศักดิ์สิทธิ์โบราณที่เหลือบุญบารมีสูงส่ง กับพระสูตรคัมภีร์แล้วก็มีธรรมาจารย์ ที่มีพลังพุทธปัญญาในโลกปัจจุบัน เหมือนหมอใหญ่ที่ให้ยารักษาโรค รู้ว่าโรคของเวไนย์อยู่ที่ไหน ตลอดจนการชักจูงให้ถูกต้อง อาจารย์จะไม่บ่นว่าลำบากเหนื่อยหน่ายและก็ไม่ถือสาถึงคุณค่า ทำงานอริยะสั่งสอนชาวโลก ให้สัญญาปณิธานที่จะปลุกเวไนย์ให้ตื่น จะได้ขจัดอวิชชาและความหลง ฟื้นฟูจิตวิญญาณให้ตื่น เพื่อนำไปสู่การชำระกรรมเป็นการฉุดช่วยใจของเวไนย์ อาจพูดได้ว่าละเอียดถึงที่สุด
ดังนั้นผู้เป็นศิษย์ควรรักษาเหตุปัจจัย ให้ศึกษาหาความรู้เพื่อจะได้รับพุทธปัญญา อย่าได้หลงลืมพระคุณและฝ่าฝืนโอวาทอาจารย์ เอาปณิธานอาจารย์มาเป็นปณิธานตน ศรัทธาปฏิบัติจริงเพื่อให้เข้าถึงจริงเพื่อฉุดช่วยเหล่าเวไนย์ทุกทิศ หากไม่ยึดถือรักษาไว้แล้ว เมื่อถึงอายุขัย ก็เกรงว่าจะผ่านวิบากกรรมไม่ได้ยากจะต้องรอไปอีกนานแค่ไหนจึงจะได้พบผู้เมตตาโอบอ้อมอารีอย่างธรรมาจารย์ที่ฉุดช่วยอีก
ที่ว่า “ตอบสนองกัน” คือการตอบสนองด้วยกายวาจาใจกับอาจารย์ไม่ว่าจะเป็นพุทธธรรมที่เผยแผ่ หรือปณิธานที่จะโปรดเวไนยสัตว์หรือวิริยะบำเพ็ญปฏิบัติ กระทำดุจเน้นคุณธรรมอาจารย์ หรือพูดดุจอาจารย์พูด หรือคิดดุจใจอาจารย์หากขอให้อาจารย์เพิ่มเติมแต่ไม่ได้ดังใจ หรือไม่ตอบสนอง ควรรู้ว่าตัวเองยังมีกรรมกีดขวาง ต้องสำรวจตัวเอง พิจารณาตัวว่ายังถูกต้อง หรือได้ปฏิบัติตามกฏระเบียบหรือเปล่า หรือยังชอบพูดถึงสิ่งถูกผิดของผู้อื่น ควรสำนึกแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่กลัวลำบาก หรือโทษโน้นโทษนี่ ต้องยอมลำบากไม่หาประโยชน์ส่วนตัว มุมานะหาความก้าวหน้า ก็จะเข้าใจ ทำให้กายใจแจ่มใส จนบรรลุมรรคผล ด้วยคำพูดนี้ส่งเสริมให้ผู้บำเพ็ญปฏิบัติ หวังว่าจะพิจารณาอย่างรอบคอบ